• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2568 โต 3.1% YoY โดยเร่งตัวจากการส่งออกก่อนภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จะมีผล ในขณะที่ภาคการผลิต การบริโภค และท่องเที่ยวชะลอลง ... เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในไตรมาส 2/2568 ...จากปัจจัยความไม่แน่นอนข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 ที่ 1.4% ...อย่างไรก็ดี ประมาณการดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับผลการเจรจาทางการค้าของไทยเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ เป็นสำคัญ รวมถึงมาตรการดูแลเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะออกมาเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้ประมาณการดังกล่าวมีแนวโน้มดีกว่าที่คาด
Home สทนช.เฝ้าระวังน้ำท่ว-น้ำป่าไหลหลาก-ดินโคลนถล่ม 26-30 พ.ค.นี้
สทนช.เฝ้าระวังน้ำท่ว-น้ำป่าไหลหลาก-ดินโคลนถล่ม 26-30 พ.ค.นี้

สทนช.เฝ้าระวังน้ำท่ว-น้ำป่าไหลหลาก-ดินโคลนถล่ม 26-30 พ.ค.นี้

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่ายังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทั้งนี้ สทนช. ได้ประชุมประเมินวิเคราะห์สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม ร่วมกับกรมอตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 พบว่ามีพื้นที่บางส่วนเสียงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เนื่องจากระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 26 - 30 พฤษภาคม 2568 ดังนี้

1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ดังนี้

1.1 ภาคเหนือ บริเวณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอขุนยวม แม่สะเรียง และสบเมย)

จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่ฟ้าหลวง แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ)

จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด และแม่สอด)

จังหวัดลำปาง (อำเภอเมืองลำปาง และห้างฉัตร)

จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า หล่มสัก และน้ำหนาว)

จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก ฟากท่า และน้ำปาด)

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จังหวัดอุดรธานี (อำเภอไชยวาน วังสามหมอ และหนองหาน)

จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ เซกา โซ่พิสัย บึงโขงหลง บุ่งคล้า พรเจริญ และศรีวิไล)

จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน ธาตุพนม และนาแก)

จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอคำม่วง และสมเด็จ)

จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และดงหลวง)

จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกุดรัง โกสุมพิสัย นาเชือก บรบือ และวาปีปทุม)

จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เกษตรวิสัย โพนทราย ศรีสมเด็จ และสุวรรณภูมิ)

จังหวัดยโสธร (อำเภอกุดชุม คำเขื่อนแก้ว และมหาชนะชัย)

จังหวัดสกลนคร (อำเภอกุดบาก นิคมน้ำอูน บ้านม่วง พรรณานิคม พังโคน ภูพาน วานรนิวาส วาริชภูมิ สว่างแดนดิน และส่องดาว)

จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ชานุมาน ปทุมราชวงศา พนา ลืออำนาจ และหัวตะพาน)

จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์ ท่าตูม และรัตนบุรี)

จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ กันทรลักษ์ ขุขันธ์ ขุนหาญ และปรางค์กู่)

จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี เขื่องใน โขงเจียม เดชอุดม ตระการพืชผล นาเยีย น้ำยืน พิบูลมังสาหาร วารินชำราบ และสิรินธร)

1.3 ภาคตะวันตก บริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ บ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ และสังขละบุรี)

1.4 ภาคตะวันออก บริเวณ จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก และปากพลี)

จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี)

จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว ขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ นายายอาม โป่งน้ำร้อน มะขาม และแหลมสิงห์)

จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบ เกาะกูด และเกาะช้าง)

1.5 ภาคใต้ บริเวณ จังหวัดชุมพร (อำเภอท่าแซะ)

จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรีละอุ่น และสุขสำราญ)

จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี)

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกักบริเวณ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยภูมิ มุกดาหาร นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว ชลบุรี ตราด สุพรรณบุรี สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ตลอด 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วม รวมถึงพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน

2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ อิทธิพลของการขึ้น – ลง ของน้ำทะเล โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสาร เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่ที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที่หากเกิดสถานการณ์