• SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเป็น 2.7% (เดิม 2.4%)  พร้อมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 เป็น 2.6% (เดิม 3.1%)  และคาดการณ์ ในปี 2567 ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงเช่นกันเป็น 3.0% (เดิม 3.5%) ตามแรงส่งเศรษฐกิจที่แผ่วลง แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่ำลง @@@@ กกร.คาดเศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ 2.8-3.3% มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะโตได้น้อยกว่า 3% ซึ่งเป็นระดับศักยภาพเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน โดยเผชิญทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัจจัยความเปราะบางในประเทศ เช่น หนี้ครัวเรือน หนี้ของภาคธุรกิจ
Home แจ่มจรัส ชวนแบรนด์รุกตลาด 'ภาคอีสาน' ตั้งเป้าปี 67 โต 2 เท่า
แจ่มจรัส ชวนแบรนด์รุกตลาด 'ภาคอีสาน' ตั้งเป้าปี 67 โต 2 เท่า

แจ่มจรัส ชวนแบรนด์รุกตลาด 'ภาคอีสาน' ตั้งเป้าปี 67 โต 2 เท่า

บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ YDM Thailand ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะตลาดภูธร ปักธงพาแบรนด์บุกตลาดภาคอีสาน ทำเลยุทธศาสตร์ประเทศ ชวนแบรนด์เดินเกมรุกขยายตลาดเมืองรอง เจาะกลุ่มผู้บริโภคภูธรเสริมแกร่งศักยภาพแบรนด์ เปิดอินไซต์ค่านิยมการสื่อสารทางวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือ ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) คือจุดแข็งกระตุ้นการท่องเที่ยว-กำลังซื้อ หนุนเศรษฐกิจรับกำลังซื้อเริ่มฟื้นตัว คาดช่วงเทศกาลส่งท้ายปีตลาดภูธรมีแนวโน้มเติบโต ตั้งเป้าโต 2 เท่าปี 67 มองภาคอีสานคือพื้นที่ศักยภาพดึงดูดการลงทุน ด้วยพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศ มีประชากรกว่า 22 ล้านคน พบสื่อออนไลน์ครองตลาดแนะโมเดล PHUTORN ออกแบบแผนกลยุทธ์สื่อสารแบรนด์จับจริตคนภูธร ช่วยปั้นยอดขายเพิ่ม 2 เท่า

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัดกล่าวว่า ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีบทบาทสามารถเข้าถึงบริโภคได้ครอบคลุมทั่วประเทศ สอดคล้องกับข้อมูลรวบรวมพฤติกรรมทางดิจิทัลที่เจาะจงเฉพาะ ‘คนไทย’ ในปี 2565-2566 โดย We Are Social และ Meltwater พบว่าคนไทยกว่า 71.75 ล้านคน ใช้งาน Internet มากถึง 61.21 ล้านคน หรือ 85.3% โดยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ Active ถึง 72.8% ของประชากร และมีผู้ใช้มือถือเข้าชมเว็บไซต์สูงสุดเป็นอันดับ 1 มากถึง 68% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีอำนาจสื่อในมือ เพื่อเลือกรับข่าวสาร เลือกซื้อสินค้า และบริการในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในต่างจังหวัด รวมถึงเมืองรองในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมีอิทธิผลกับกำลังซื้อต่อแบรนด์ไม่น้อยกว่ากับผู้บริโภคในเมืองหลักหรือหัวเมืองใหญ่ ถือเป็นตลาดสำคัญที่นักการตลาดและแบรนด์ควรเพิ่มโอกาสทางการขายและขยายฐานลูกค้าเข้าไปในกลุ่มนี้ โดย แจ่มจรัส เป็นหัวหอกสำคัญของ YDM Thailand ในการขับเคลื่อนแบรนด์พาทเนอร์บุกและแสวงหาโอกาสใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ด้วยความเชี่ยวชาญ และเข้าใจอินไซต์ ค่านิยมทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เสมือนเป็นคนพื้นที่ พร้อมพาแบรนด์เจาะกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ต่างจังหวัดไม่เฉพาะหัวเมืองใหญ่ แต่รวมถึงเมืองรองผ่านกลยุทธ์การใช้สื่อผสมผสานทั้งสื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์ และกิจกรรมออนกราวด์

 


นายสมยศ ชัยรัตน์ กรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ YDM Thailand กล่าวว่า ช่องโหว่ของนักการตลาด และแบรนด์ปัจจุบันคือการโฟกัส Insight ของผู้บริโภคในเมืองเป็นหลัก และมีแนวคิดเดิม ๆ ที่เข้าใจจะว่าสามารถเข้าถึงจริตคนภูธรได้ด้วยเรื่องราวเดียวกัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเคยได้ผลในยุคที่สื่อโทรทัศน์ยังเป็นสื่อหลัก ขณะเดียวกัน เมื่อโลกเปลี่ยนไป ซอฟต์พาวเวอร์ความเป็นไทยที่แตกต่างมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น ล่าสุด กับกระแสภาพยนตร์สัปเหร่อคือข้อพิสูจน์ถึงการยอมรับ ความสนุก การถ่ายโยงของวัฒนธรรมอื่น เข้ามามีบทบาทมหาศาล บางแบรนด์เริ่มมีทิศทางการเดินหน้าบุกตลาดต่างจังหวัดซึ่งเป็นเมืองรองแล้ว แต่ก็ยังสะดุดกับดักใหญ่ คือไม่สามารถเจาะลึกเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ได้ ด้วยขาดความชำนาญ ไม่เข้าใจพฤติกรรม รวมถึงไลฟ์สไตล์ ความชื่นชอบผู้บริโภคต่างจังหวัดที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละภูมิภาค ทำให้หลายแบรนด์พลาดโอกาสที่จะได้เข้าถึงลูกค้า โดยเฉพาะภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ทำเลยุทธศาสตร์ประเทศ

ข้อมูลจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรไทย สำนักทะเบียนกลาง ชี้ภาคอีสานติดอันดับจำนวนประชากรสูงสุดปี 2565 ด้วยประชากรกว่า 22 ล้านคน มีพื้นที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งถือเป็นตลาดต่างจังหวัดที่มีศักยภาพมากที่สุด มีจุดแข็งด้านซอฟต์พาวเวอร์ ถิ่นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ ความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนาน และภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและกำลังซื้อจากคนในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจในภูมิภาคกำลังเริ่มฟื้นตัว ถือเป็นโอกาสที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม

“ทั้งนี้ แจ่มจรัส ตั้งเป้าโต 2 เท่าปี 2567 เดินหน้าชวนแบรนด์รุกตลาดภาคอีสาน ขานรับแนวโน้มภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยว-กำลังซื้อฟื้นตัว โดยเฉพาะช่วงเทศกาลส่งท้ายปีตลาดภูธรคาดจะมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งนอกจากแบรนด์ควรยึดเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนแผนการตลาดด้วยโมเดล PHUTORN แล้ว ควรดึงจุดแข็งด้านค่านิยมการสื่อสารทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (Soft Power) ในแต่ละพื้นมาเพื่อเสริมแกร่งแบรนด์ จับจริตคนต่างจังหวัดถูกจุดใน 4 ข้อหลัก ๆ คือ 1. สัญลักษณ์ (Symbols) ควรใช้การสื่อสารผ่าน Content คำพูด ท่าทาง รูปภาพ และวัตถุที่มีความหมายเฉพาะ เป็นที่ยอมรับของผู้ที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน 2. ฮีโร่/ไอคอน (Heroes) นับเป็นหมากตัวสำคัญที่ช่วยดึงความสนใจร่วมกับการสื่อสาร Online และ On-ground โดยจะเน้นใช้บุคคลที่ได้รับการยกย่องจากสังคม 3. พิธีกรรม (Rituals) เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มาพร้อมความเชื่อ ความสนใจ และความสนุกสนานมีอิทธิพลมากกับคนในพื้นที่ นิยมจัดร่วมกับกิจกรรมแบบ Offline เน้นการสร้างการมีส่วนร่วม เช่น งานเทศกาลงานบุญ รถแห่ หรืองานประจําจังหวัด เป็นต้น และ 4. เป้าหมายการเพิ่มมูลค่า (Value Target) คือการเข้าถึงเอกลักษณ์ของผู้บริโภคในพื้นที่ เช่น ชาวอีสานชื่นชวนกิจกรรมเป็นกลุ่ม สนุกสนาน เสียงหัวเราะ เต้น ร้องเพลง เป็นต้น ซึ่งจากการนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการช่วยขับเคลื่อนแบรนด์สู่ขยายตลาดภูธร พบว่าแบรนด์สามารถเพิ่มยอดขายธุรกิจมากถึง 2 เท่า บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และประสบความสำเร็จเกินคาด” นายสมยศ กล่าวทิ้งท้าย