• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home ‘เวียตเจ็ท-โบอิ้ง’ บรรลุข้อตกลงส่งมอบ ‘โบอิ้ง 737 แมกซ์’ 12 ลำ ปี 67
‘เวียตเจ็ท-โบอิ้ง’ บรรลุข้อตกลงส่งมอบ ‘โบอิ้ง 737 แมกซ์’ 12 ลำ ปี 67

‘เวียตเจ็ท-โบอิ้ง’ บรรลุข้อตกลงส่งมอบ ‘โบอิ้ง 737 แมกซ์’ 12 ลำ ปี 67

ระหว่าง ‘โจ ไบเดน’ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เยือนเวียดนาม
 
(ฮานอย, 12 กันยายน 2566) – คณะตัวแทนระดับสูงของสายการบินเวียตเจ็ท (เวียดนาม) และโบอิ้ง (Boeing) บรรลุข้อตกลงสำคัญเกี่ยวกับคำสั่งซื้อเครื่องบิน โบอิ้ง 737 แมกซ์ จำนวน 200 ลำ ระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
 
นางเหวียน ถิ เฟือง เถา ประธานกรรมการบริหารสายการบินเวียตเจ็ท และนาย Brendan Nelson ประธานบริษัท Boeing Global บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง 737 แมกซ์  จำนวนสูงสุด 12 ลำ ภายในปี พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญาคำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 737 แมกซ์ จำนวน 200 ลำ ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีกำหนดการส่งมอบภายใน 5 ปี นับจากปีพ.ศ. 2567 นับเป็นคำสั่งซื้อเครื่องบินที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสัญญาเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดและส่งผลต่อความสมดุลทางการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบันอย่างมีนัยยะสำคัญ
 


เครื่องบินโบอิ้ง 737 แมกซ์ ชุดแรกจะถูกส่งมอบแก่สายการบินไทยเวียตเจ็ท ซึ่งเป็นสายการบินในเครือเวียตเจ็ท กรุ๊ป ปัจจุบัน ไทยเวียตเจ็ทเป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำของประเทศไทยซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
 
ก่อนหน้านี้ สัญญาซื้อขายของเวียตเจ็ทในการซื้อเครื่องบินลำตัวแคบของโบอิ้งจำนวน 200 ลำ ต้องหยุดชะงักเนื่องจากปัญหาของเครื่องบินรุ่น 737 Max ตามมาด้วยผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโรคไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกของโบอิ้ง คำสั่งซื้อและแผนการส่งมอบเครื่องบินจำนวนมากทั่วโลกถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด อย่างไรก็ตาม ขณะที่สายการบินฯ หลายรายปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญา เวียตเจ็ทและโบอิ้งต่างพยายามหาจุดร่วมเพื่อบรรลุข้อตกลงและสร้างกลยุทธ์ระยะยาวร่วมกันเพื่อดำเนินการตามสัญญา
 
พร้อมกันนี้ โบอิ้งและเวียตเจ็ทจับมือร่วมกันผลักดันให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศสำหรับการบริการด้านการบิน ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรม การศึกษา และการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเชิงการบิน เชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเกณฑ์ของอุตสาหกรรมการบิน ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการบิน การเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการของท่าอากาศยาน รวมถึงการจัดการเที่ยวบินในเวียดนาม นอกจากนี้ โบอิ้งมุ่งมั่นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเวียดนามในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในแง่การผลิตเครื่องบินและอุปกรณ์การบิน
 
คำสั่งซื้อของเวียตเจ็ทคาดว่าจะขยายโอกาสการจ้างงานกว่า 200,000 ตำแหน่งสู่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงคำสั่งซื้อเครื่องบินและบริการวิศวกรรมเครื่องยนต์ ผลสำเร็จที่บรรลุโดยทั้งสองบริษัทไม่เพียงแต่กระตุ้นการเติบโตในอุตสาหกรรมการบินและเศรษฐกิจในเวียดนามเท่านั้น แต่ยังดึงดูดนักลงทุนจำนวนมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงบริษัทรายใหญ่และนักลงทุนจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก
 
ขณะเดียวกัน ในระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เวียตเจ็ท ร่วมกับ Carlyle Aviation Partners บริษัทการเงินด้านอุตสาหกรรมการบินและบริหารสินทรัพย์ชั้นนำของสหรัฐฯ ร่วมลงนามในข้อตกลงการเงินด้านอากาศยานมูลค่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่คำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 737 แมกซ์  ก่อนดำเนินการส่งมอบ
 
Carlyle Aviation Partners ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยดำเนินธุรกิจด้านการเงินและการเช่าซื้อเครื่องบินทั่วโลก ปัจจุบัน ดำเนินการบริหารจัดการฝูงบินกว่า 396 ลำใน 59 ประเทศ