• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home 15 องค์กร ภายใต้ “เบทาโกร” คว้าองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปี 67
15 องค์กร ภายใต้ “เบทาโกร” คว้าองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปี 67

15 องค์กร ภายใต้ “เบทาโกร” คว้าองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ปี 67

พร้อมผ่านการรับรองการตรวจวัดข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับสูงสุด (Gold)
ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Net Zero ปี 2593

 

กรุงเทพฯ – 30 กันยายน 2567 – “บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)” หรือ “BTG” บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำของไทยที่มุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน นำโดย “นายบรรจบ ศฤงคารินทร์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารโรงงาน เป็นตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2567 (Climate Action Leading Organization: CALO)” จาก “นายจตุพร บุรุษพัฒน์” ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

 

สำหรับรางวัลองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2567 เป็นผลมาจากการที่ 15 องค์กร ภายใต้เบทาโกร ผ่านการรับรององค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกระดับสูงสุด (Gold) ด้านการตรวจวัดข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และระดับ Bronze ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) โดยที่ผ่านมาเบทาโกร ได้มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการจัดทำฐานข้อมูลประเมินการปลดปล่อย และกำหนดแนวทางลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2593 ตามยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของเบทาโกร โดย 15 องค์กร ภายใต้เบทาโกร ประกอบด้วย 1) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 1,2,3​ 2) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 4​ 3) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์สงขลา​ 4) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์พระประแดง​ 5) บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานแปรรูปสุกรลพบุรี)​ 6) บริษัท บี. ฟู้ดส์  โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด​ 7) บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด (โรงงานอ้อมน้อย)​ 8) บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานแปรรูปไก่พัทลุง)​ 9) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด​ 10) บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด (เซ็นทรัลคิทเช่น)​ 11) บริษัท อิโตแฮม เบทาโกร ฟู้ดส์ จำกัด​ 12) บริษัท เบทาโกร เอ็มเอฟ เดลี จำกัด​ 13) บริษัท เบทาโกร ไดนิปปอน เทคโน เอ็กซ์ จำกัด​ 14) บริษัท เพ็ท โฟกัส จำกัด ​ และ 15) บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด (ศูนย์รวบรวมไข่กบินทร์บุรี)​

 

จากซ้ายไปขวา: ลำดับที่ 1 บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด (ศูนย์รวบรวมไข่กบินทร์บุรี) ลำดับที่ 2 บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด (โรงงานอ้อมน้อย) ลำดับที่ 3 บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ลำดับที่ 5 บริษัท เพ็ท โฟกัส จำกัด ลำดับที่ 7 บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานแปรรูปไก่พัทลุง) ลำดับที่ 8 บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด (เซ็นทรัลคิทเช่น) ลำดับที่ 9 บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานแปรรูปสุกรลพบุรี) และลำดับที่ 10 บริษัท อิโตแฮม เบทาโกร ฟู้ดส์ จำกัด

 

จากซ้ายไปขวา: ลำดับที่ 1 บริษัท เบทาโกร เอ็มเอฟ เดลี จำกัด ลำดับที่ 2 บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 1,2,3 บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 4 บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์สงขลา และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์พระประแดง ลำดับที่ 3 บริษัท บี. ฟู้ดส์  โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และลำดับที่ 6 บริษัท เบทาโกร ไดนิปปอน เทคโน เอ็กซ์ จำกัด