• Krungthai COMPASS ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังไม่สิ้นสุด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะมีแนวโน้มลดลง แต่ กนง. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 2.0% ในปี 2566 และ 2567 *** มองว่า กนง. จะให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมากขึ้นเนื่องจากสะท้อนสัดส่วนราคาที่ผู้บริโภคใช้จ่ายถึง 67.1% ของตะกร้าเงินเฟ้อ นอกจากนี้ กนง. กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงจากแรงหนุนด้านอุปสงค์ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวดี และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจเพิ่มขึ้นจากแรงกดดันด้านอุปทาน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะข้างหน้า อีกทั้งเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านสูงเช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าหากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างเรียบร้อย *** กนง. มีโอกาสปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ในช่วงปลายปี 2566
Home TQC-มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงานเขต EEC
TQC-มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงานเขต EEC

TQC-มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงานเขต EEC

บมจ.ทีคิวเอ็ม อัลฟา โดย บริษัท ทีคิวซี จำกัด (TQC) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยบูรพา ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุข ภายใต้แนวคิด Quality Of Working Life And Happiness เพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงร่วมกันทำ MOU เพื่อทำมาตรการรับมือผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายให้คนทำงานในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข

มหาวิทยาลัยบูรพา โดย รศ.ดร.ยุวดี รอดจากภัย คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และ ผศ.ดร.โกวิท สุวรรณหงษ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ และบริษัท ทีคิวซี จำกัด โดย ดร.วุชธิตา คงดี ประธานฝ่ายปฏิบัติการ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการ โครงการศึกษาและพัฒนาด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุข ภายใต้แนวคิด Quality Of Working Life And Happiness

ผศ.ดร.โกวิท สุวรรณหงษ์ และ ดร.วุชธิตา คงดี กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงในปัจจุบัน เช่น ปัญหามลพิษในอากาศ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ภาวะเรือนกระจก ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของคนไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ผู้ร่วม MOU ทั้งสองฝ่ายได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงตกลงร่วมกัน เพื่อทำมาตรการ แนวทางรับมือผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ ร่วมกันนานัปการ”

นอกจากนั้นทางสองฝ่ายยังกล่าวว่า “สุขภาพ” คือ สิ่งที่สำคัญ การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุข รวมถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้องค์กร สังคมมีความมั่นคง เพราะพนักงานที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีความสุขย่อมมีกำลังทำประโยชน์ สร้างสรรองค์กร สร้างสรรเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่ เมื่อทุกคนมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ย่อมนำมาซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” ได้แก่ มิติเศรฐกิจ มิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม มิติการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันเพื่อร่วมกันจัดกิจกรรม ทำมาตรการ โครงการอบรมทางวิชาการ เพื่อมุ่งเน้นผลลัพธ์ให้คนทำงานในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566- 2570)