• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home กรมควบคุมโรค เผยไทยรับมือโควิดได้ดี องค์การอนามัยโลกและนานาชาติ ชื่นชม
กรมควบคุมโรค เผยไทยรับมือโควิดได้ดี องค์การอนามัยโลกและนานาชาติ ชื่นชม

กรมควบคุมโรค เผยไทยรับมือโควิดได้ดี องค์การอนามัยโลกและนานาชาติ ชื่นชม

กรมควบคุมโรค เผยไทยรับมือโควิดได้ดีผลงานเป็นที่ชื่นชมขององค์การอนามัยโลกและนานาชาติ ภาพรวมโครงการส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมชี้แจงเหตุผลต่อรายงานการตรวจสอบของ สตง.

 

ตามที่มีข่าวเผยแพร่ในสื่อฉบับหนึ่งว่า สตง. เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพโครงการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด 19 ที่กรมควบคุมโรคดำเนินการ กรมควบคุมโรคขอชี้แจงว่าโครงการส่วนใหญ่สำเร็จเรียบร้อยตามแผน มีเพียงส่วนน้อยที่ล่าช้าและขอยกเลิก เน้นย้ำการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและคุ้มค่าสอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

วันนี้ (27 มกราคม 2566) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตามที่มีสื่อฉบับหนึ่งลงข่าว สตง. เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพโครงการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินโควิดที่กรมควบคุมโรครับผิดชอบมีการดำเนินงานล่าช้านับปีและรับมือโควิดเหลว จึงขอให้ข้อมูลว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและนานาประเทศในเรื่องของความสำเร็จในการบริหารจัดการวิกฤติโควิด 19 โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 5 จาก 195 ประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านความมั่นคงด้านสุขภาพในระดับชั้นนำ สะท้อนด้วยผลงานของประเทศที่มีระบบการสาธารณสุขที่เข้มแข็งและมีอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโควิดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศทั่วโลก โดยกรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานสาธารณสุขที่มีภารกิจหลักในการจัดการกับการระบาดของโควิด 19 ภายใต้การทำงานในภาวะฉุกเฉินที่มีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลากว่า 3 ปี

 

นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า ตามที่รัฐบาลอนุมัติให้มีแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข วงเงินจัดสรรทั้งสิ้น 63,402.41 ล้านบาท ที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ และมีผลเบิกจ่าย ณ วันที่ 6 มกราคม 2566 ทั้งสิ้น 58,840.11 ล้านบาท คิดเป็น 92.8% โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้สุ่มตรวจสอบการใช้งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งสิ้น 4 โครงการ วงเงิน 1.5 พันล้านบาท ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 รับผิดชอบโดยกรมควบคุมโรคจำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด ซึ่งดำเนินกิจกรรมจัดเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน รับมือกับการระบาดของโรคโควิด จากเอกสารรายงานผลการเบิกจ่ายเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 พบว่า โครงการในภาพรวมสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยตามแผนจำนวน 88 รายการจากที่ได้รับอนุมัติ 99 รายการ สูงเกือบ 90% โดยมีเพียง 10 รายการที่ช้ากว่าแผน และมี 1 รายการที่ขอยกเลิก คือ การจัดหาเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอัตโนมัติ สาเหตุเนื่องจากไม่มีผู้ยื่นเสนอราคา ซึ่งแม้ต่อมาจะเปลี่ยนวิธีจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง แต่บริษัทแจ้งว่าราคาท้องตลาดสูงกว่าราคากลาง สำหรับรายการที่ล่าช้า 10 รายการ ขอขยายเวลาดำเนินการต่อ 8 เดือน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นระบบไอทีเกี่ยวข้องกับการป้องกันควบคุมโรคที่ต้องพัฒนาขึ้นใหม่ตามลักษณะการใช้งาน และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาด  อย่างไรก็ตาม  ผลงานในภาพรวมของโครงการไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด 19 ที่อาศัยความร่วมมือในการทำงานหลายภาคส่วนประกอบกันในภาวะฉุกเฉินและ 2) โครงการค้นหาเชิงรุกสำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคโควิดในระดับพื้นที่ มีการยกเลิกการจัดหารถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) ที่มีวัตถุประสงค์ใช้สนับสนุนการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ PCR เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายและมาตรการตรวจหาเชื้อโควิด มาเป็นวิธีการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) แทน PCR ในช่วงครึ่งปีหลังของพ.ศ. 2564 ด้วยสถานการณ์ระบาดที่เปลี่ยนไปและประกอบกับประชาชนฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมาก จึงได้ยกเลิกรายการดังกล่าวที่ไม่จำเป็นต่อสถานการณ์ที่มีการตรวจ PCR ลดลงมาก และงบประมาณส่วนนี้ส่งคืนไปใช้ในโครงการอื่นที่มีความจำเป็นมากกว่า นับเป็นการบริหารงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

   

 ส่วนอีก 1 รายการเป็นการจัดหารถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ซึ่งเป็นรถที่ต้องมีการประกอบขึ้นเพื่อรองรับภารกิจเฉพาะ ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด การผลิตต้องนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์บางรายการเข้ามาประกอบภายในประเทศ ในขณะที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิดทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและเวลาที่ใช้ในการจัดส่งอุปกรณ์ระหว่างประเทศ มีความล่าช้าในการส่งมอบครุภัณฑ์ จำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายและขยายระยะเวลาโครงการออกไป 8 เดือน ทั้งนี้ ขณะเริ่มต้นโครงการถูกจำกัดระยะเวลาดำเนินงานภายใต้ พ.ร.ก.เงินกู้ เพียง 6 เดือน (กค-ธค 64) หลังได้รับการอนุมัติ ซึ่งบทเรียนในครั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ให้ข้อเสนอแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปรับปรุงกระบวนการอนุมัติงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับการทำงานในภาวะเร่งด่วน รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉินควรคำนึงถึงภาระงานของบุคลากรที่เพิ่มขึ้นในสถานการณ์วิกฤติที่ยากจะควบคุมขั้นตอนต่างๆ ให้เสร็จตามกำหนดเวลาดังเช่นในภาวะปกติ