• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home กองทุนพัฒนาสื่อฯ เดินหน้าผลิต ' WISE CREATORs' สร้างพลังบวกสังคม
กองทุนพัฒนาสื่อฯ เดินหน้าผลิต ' WISE CREATORs' สร้างพลังบวกสังคม

กองทุนพัฒนาสื่อฯ เดินหน้าผลิต ' WISE CREATORs' สร้างพลังบวกสังคม

เสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับหลักสูตรอบรมพัฒนาผู้ผลิตสื่อระดับกลาง “WISE CREATORs…เรียนรู้ ร่วมสร้าง สื่อสร้างสรรค์” จัดโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อระดับกลางให้สามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปใช้พัฒนาและผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มีคุณภาพในระดับที่สูงขึ้น สร้างผลกระทบเชิงบวกในทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ รวมเวลา 33 ชั่วโมง ทั้งแบบออนไซต์ 4 วัน และ ออนไลน์ 3 วัน ซึ่งได้จัดพิธีปิดหลักสูตร พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรม ซึ่งเป็นผู้ผลิตสื่อระดับกลางที่ต่างสนใจสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตรกว่า 40 คน ที่ โรงแรม เดอะ พาลาสโซ กรุงเทพฯ

 


ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่ากองทุนพัฒนาสื่อฯ เน้นให้คนทำสื่อมีความรอบรู้ระดับกว้างและลึก เราจะปูความรู้ทั้งที่เป็นนามธรรม แนวคิด หลักการ มุมมอง ดังนั้น หลักสูตรการอบรมในครั้งนี้ จะช่วยเติมเต็มได้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพราะมีการทดลองให้ปฏิบัติจริง ทำเวิร์กช้อป ศึกษาดูงานของหน่วยงานสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เข้าอบรมแต่ละคน สำหรับหลักสูตรผู้ผลิตนั้น จริงๆ

ในระดับต้นเราทำไปแล้ว พอมาปีนี้ ทาง มศว.มาช่วยทำระดับกลาง นำหลักสูตรที่คิดขึ้นมาทดลองใช้ มีการประเมินฟีดแบ็กจากผู้เข้าอบรม ต่อจากนี้จะมีหลักสูตรระดับสูง แน่นอนว่าเราเปิดให้ผู้สนใจสมัครเข้ามาอบรมกับเรา เพราะคนที่ทำสื่อมีหลายระดับ ถ้านำหลักสูตรเดียวไปใช้ทุกระดับ อาจมีคนตามไม่ทัน หรือ บางคนรู้หมดแล้ว ก็จะไม่ตอบโจทย์ เราต้องการเปิดพื้นที่ให้โอกาสกับคนหน้าใหม่ๆ เข้ามาเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

“หลังจากจบการอบรมนี้ไปแล้ว เราจะเชิญชวนผู้ที่เข้าอบรมกับเราให้เป็นผู้ขอทุน เรามีหลักสูตรติวสำหรับการเขียนโครงการด้วย ถ้ามาอบรมอย่างตั้งใจและมุ่งมั่น อยากเป็นคนสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ผมเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ มีหลายโครงการ เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสร้างสรรค์ผลงานและส่งประกวด ปีหนึ่งๆมี 3-4 โปรเจค คนที่ผ่านเข้ามาแต่ละโครงการ เรายังมีโครงการต่อยอด เช่น โครงการ 1 อำเภอ 1 เรื่องเล่า มีการนำผลงานมาผลิตเป็นหนังสั้นด้วย ฉะนั้นคนที่เข้าอบรมหลักสูตรขอให้มั่นใจว่ากองทุนจะสร้างพื้นที่และโอกาสให้คุณ ถ้าคุณเป็นช้างเผือกเราจะฉายสปอร์ตไลค์ให้คุณไปถึงสิ่งที่คุณฝัน” ผอ.กองทุนสื่อฯ ย้ำ

 


หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรม น.ส.นิจจารีย์ อร่ามรุ่ง ผู้ช่วยผจก.บ.แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (จส.100) กล่าวว่า เราเองก็เป็นคนทำงานสื่อแห่งหนึ่ง แน่นอนว่าเรามีผู้ฟังที่ติดตามเรามากพอสมควร ที่สมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้ ก็เพราะต้องการเข้ามาอัพเดทเรื่องเนื้อหาการทำคอนเทนต์ อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ อัพเดทเทคโนโลยีในการทำสื่อ ซึ่งก็อยู่ในขอบเขตการทำงานของเราด้วย ที่เราเองก็ควรตระหนักในการสร้างสรรค์สื่อดีๆ ในช่องทางสื่อของเรา ขณะเดียวกัน ส่วนตัวมีความสนใจที่จะขอรับทุนของกองทุนพัฒนาสื่อฯ มาช่วยสนับสนุนในแง่การสร้างสื่อสร้างสรรค์ปลอดภัยเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนน ให้กับเด็กและเยาวชน ซึ่งก็ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์และข้อมูลดีๆให้กับเด็กเยาวชนในสังคม

“หลักสูตรนี้มีเนื้อหาอบรมที่ดีมาก ทันสมัย วิทยากรก็ดีให้องค์ความรู้ที่ช่วยให้เราสามารถนำไปต่อยอดทำคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการเรียน การทำเวิร์กช้อป ที่เราได้นำไปใช้จริงๆ ไม่ใช่แค่ตัวเอง แต่ยังรวมถึงส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเรา เช่น กราฟฟิค การตัดต่อ ตนมองว่า หลักสูตรนี้เป็นการเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะการทำสื่อเชิงสร้างสรรค์ คนทำสื่อต้องคิดอะไรให้มากขึ้นก่อนจะปล่อยเนื้อหาออกไป อย่าฟีดแต่ให้ข่าวดูเยอะๆ ควรมีเวลาในกลั่นกรองพิถีพิถันก่อนจะปล่อยข่าวออกไป ควรเน้นเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ” คุณนิจจารีย์ กล่าว