• Krungthai COMPASS ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังไม่สิ้นสุด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะมีแนวโน้มลดลง แต่ กนง. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 2.0% ในปี 2566 และ 2567 *** มองว่า กนง. จะให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมากขึ้นเนื่องจากสะท้อนสัดส่วนราคาที่ผู้บริโภคใช้จ่ายถึง 67.1% ของตะกร้าเงินเฟ้อ นอกจากนี้ กนง. กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงจากแรงหนุนด้านอุปสงค์ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวดี และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจเพิ่มขึ้นจากแรงกดดันด้านอุปทาน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะข้างหน้า อีกทั้งเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านสูงเช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าหากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างเรียบร้อย *** กนง. มีโอกาสปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ในช่วงปลายปี 2566
Home กยศ. เปิดให้กู้ยืมประจำปีการศึกษา 2566 ผ่านมือถือ
กยศ. เปิดให้กู้ยืมประจำปีการศึกษา 2566 ผ่านมือถือ

กยศ. เปิดให้กู้ยืมประจำปีการศึกษา 2566 ผ่านมือถือ

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดให้กู้ยืมเงินประจำปีการศึกษา 2566 ผู้กู้ยืมรายใหม่ยื่นขอกู้ยืมได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ผู้กู้ยืมรายใหม่/รายเก่า ยื่นแบบยืนยันการกู้ยืมได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ผ่านทางแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” หรือทางเว็บไซต์ กยศ. โดยให้กู้ยืม 4 ลักษณะ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาเข้าถึงโอกาสทางการศึกษามากขึ้น

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยว่า “ขณะนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้เปิดระบบให้กู้ยืมเงินประจำปีการศึกษา 2566 โดยนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมรายใหม่สามารถยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงินผ่านทางแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” หรือทางเว็บไซต์ กยศ. ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 และสำหรับผู้กู้ยืมเงินรายใหม่/รายเก่า ต้องยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืมถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมจะได้รับเงินค่าครองชีพเดือนแรกภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานศึกษาทำการตรวจสอบยืนยันข้อมูล และแนบเอกสารการกู้ยืมของผู้กู้ยืมในระบบ DSL เรียบร้อยแล้ว และสถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมที่ถูกต้องและครบถ้วนให้ธนาคารเพื่อกองทุนจะโอนเงินในงวดถัดไป

ทั้งนี้ การให้กู้ยืมในปีการศึกษา 2566 กองทุนได้จัดเตรียมวงเงินกู้ยืมกว่า 40,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียน นักศึกษากว่า 640,000 ราย ที่ขอกู้ยืมใน 4 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลักษณะที่ 2 ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ลักษณะที่ 3 ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ และลักษณะที่ 4 เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ (ระดับประกาศนียบัตรบัณทิตและปริญญาโท) และกองทุนจะเป็นหลักประกันให้กับทุกครอบครัวว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาในประเทศนี้จะมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันทุกคน เพราะความยากจนจะไม่ใช่อุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาอีกต่อไป โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.studentloan.or.th” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด