• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2566 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 1.5% YoY ส่งผลให้รวม 9 เดือนแรกของปีเศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9% YoY ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มาอยู่ที่ 2.5% YoY ลดลงจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้าที่ 3.0% ...ทิศทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 คาดว่าจะได้รับแรงขับเคลื่อนจากฤดูกาลท่องเที่ยวเป็นหลัก...สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากปี 2566 โดยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
Home ก.ล.ต. เผยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม
ก.ล.ต. เผยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม

ก.ล.ต. เผยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม

ก.ล.ต. เผยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม  สอดคล้องตามมาตรฐานสากล IOSCO ในระดับสูง

ก.ล.ต. ได้ประเมินตนเองตามแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแลด้านตลาดทุนสากล (International Organization of Securities Commissions: IOSCO) ในการตรวจสอบความพร้อมของหลักเกณฑ์และมาตรฐานการกำกับดูแล พบว่าหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและเครื่องมือบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม (Liquidity Management Tools: LMTs) ที่ได้ปรับปรุงในช่วงปี 2564 – 2565 มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน IOSCO ในระดับสูง

ในปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับ AIMC บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวทางการกำกับดูแลสากลโดยจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและเครื่องมือ LMTs ของกองทุนรวมเพื่อยกระดับการจัดการกองทุนรวมให้ บลจ. มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การออกแบบพอร์ตการลงทุนของกองทุนรวม การบริหารสภาพคล่องประจำวันและการมีเครื่องมือ LMTs ในช่วงที่ภาวะตลาดผันผวนเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ลดโอกาสเกิดผลกระทบต่อระบบการเงินในวงกว้าง ซึ่งหลักเกณฑ์มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 IOSCO ได้ออกรายงาน Thematic Review on Liquidity Risk Management Recommendations (FR13/22) เพื่อเผยแพร่ผลการประเมินความพร้อมเกี่ยวกับการจัดให้มีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมและเครื่องมือ LMTs ในกลุ่มประเทศสมาชิก ผลสำรวจพบว่าประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วน นอกจากนี้ เมื่อนำหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวมาประเมินหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและเครื่องมือ LMTs ของไทยพบว่ามีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลในระดับสูง


นอกจากนี้ จากการซักซ้อมแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการทดสอบการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้ พบว่า บลจ. ทุกแห่งมีความพร้อมในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ซึ่ง ก.ล.ต. ร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษา พัฒนาหลักเกณฑ์ และการปฏิบัติของ บลจ. ให้เป็นไปตามแนวทางสากลเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ คุ้มครองผู้ลงทุนและพัฒนาตลาดทุนให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

หมายเหตุ:

· ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.iosco.org/library/pubdocs/pdf/IOSCOPD721.pdf