• ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย ปี 2565 บริษัทจดทะเบียน หรือ บจ. จำนวน 798 บริษัท คิดเป็น 98.6% จากทั้งหมด 809 บริษัท (รวม SET และ mai และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บจ. ในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC) นำส่งผลการดำเนินงานงวดปี 2565 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 619 บริษัท คิดเป็น 77.6% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด *** ส่วนบริษัทจดทะเบียนใน mai จำนวน 196 บริษัท คิดเป็น 96% จากทั้งหมด 204 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่ปิดงบไม่ตรงงวด) นำส่งผลการดำเนินงาน โดยปี 2565 พบ บจ. ที่รายงานกำไรสุทธิจำนวน 144 บริษัท คิดเป็น 73% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด
Home 'คลัง'ปรับเกณฑ์ช่วยเหลือทางการเงิน ผู้ประกอบการ 3 จว.ชายแดนภาคใต้
'คลัง'ปรับเกณฑ์ช่วยเหลือทางการเงิน ผู้ประกอบการ 3 จว.ชายแดนภาคใต้

'คลัง'ปรับเกณฑ์ช่วยเหลือทางการเงิน ผู้ประกอบการ 3 จว.ชายแดนภาคใต้

'คลัง'ปรับหลักเกณฑ์โครงการช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) ของธนาคารออมสิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อจากเดิมที่กำหนดให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยได้รับสินเชื่อจากโครงการเดิมที่สิ้นสุดระยะเวลาไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 หรือเป็นผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อจากโครงการดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เป็นสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายใหม่หรือผู้ประกอบการที่เคยได้รับสินเชื่อตามโครงการเดิม ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องและแบ่งเบาภาระในช่วงระหว่างวางแผนบริหารจัดการทางการเงินในการชำระคืนสินเชื่อของโครงการเดิม

2) ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายสินเชื่อจาก 30 มิถุนายน 2566 เป็นให้ธนาคารออมสินเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาเตรียมความพร้อมในการขอสินเชื่อ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอยู่เป็นระยะ โดยพิจารณาถึงข้อจำกัดและปัญหาอุปสรรคของการดำเนินมาตรการดังกล่าว รวมถึงปรับปรุงและออกมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที เพื่อให้การดูแลผู้ประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และเพียงพอ