• ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย ปี 2565 บริษัทจดทะเบียน หรือ บจ. จำนวน 798 บริษัท คิดเป็น 98.6% จากทั้งหมด 809 บริษัท (รวม SET และ mai และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บจ. ในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC) นำส่งผลการดำเนินงานงวดปี 2565 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 619 บริษัท คิดเป็น 77.6% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด *** ส่วนบริษัทจดทะเบียนใน mai จำนวน 196 บริษัท คิดเป็น 96% จากทั้งหมด 204 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่ปิดงบไม่ตรงงวด) นำส่งผลการดำเนินงาน โดยปี 2565 พบ บจ. ที่รายงานกำไรสุทธิจำนวน 144 บริษัท คิดเป็น 73% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด
Home ซมโปะ ประกันภัย ร่วมกับเลขาธิการ คปภ.ขับเคลื่อน'ประกันภัยอ้อย'
ซมโปะ ประกันภัย ร่วมกับเลขาธิการ คปภ.ขับเคลื่อน'ประกันภัยอ้อย'

ซมโปะ ประกันภัย ร่วมกับเลขาธิการ คปภ.ขับเคลื่อน'ประกันภัยอ้อย'

ซมโปะ ประกันภัย ร่วมกับเลขาธิการ คปภ. ขับเคลื่อนประกันภัยพืชผลทางเกษตรเชิงรุก
  ด้วย “ประกันภัยอ้อย” ให้แก่ชุมชนบ้านผาทั่ง จังหวัดอุทัยธานี

บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นำโดย ผศ.ดร. ชญณา ศิริภิรมย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมงานสัมมนาตามโครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ (กรมธรรม์ประกันภัยอ้อย) หนึ่งในนโยบายสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ดำเนินการเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนในทุกภูมิภาคสามารถเข้าถึงระบบประกันภัยและมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริงในหัวข้อ “เกษตรกรอุ่นใจ ด้วยกรมธรรม์ประกันภัยอ้อย” โดยมี ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอบ้านไร่ นายสมิทธิ ว่องไพฑูรย์ ผู้บริหารบริษัท อุตสาหกรรม น้ำตาลบ้านไร่ จำกัด นายไพฑูรย์ ฟักเขียว ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ สมาคมชาวไร่อ้อยอำเภอบ้านไร่ และภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 150 คน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 
 
ในปีนี้ สำนักงาน คปภ. ภาค 2 (นครสวรรค์) ได้เสนอ “โครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ (กรมธรรม์ประกันภัยอ้อย) จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำเกษตรกรรมหลากหลายชนิด โดยมีพื้นที่สำหรับการปลูกอ้อย รวมมากกว่า 3 แสนไร่ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตมากเป็นอันดับที่ 4 ของพื้นที่เขตภาคกลาง อีกทั้งอ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีการส่งออกเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมของประเทศที่มีผลผลิตติด 1 ใน 5 อันดับแรกของโลก

 

 


สำหรับการเสวนาในหัวข้อ “เกษตรกรอุ่นใจด้วยกรมธรรม์ประกันภัยอ้อย” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยงของประชาชนในท้องถิ่นนั้น รวมถึงส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนในท้องถิ่นให้เข้าถึงระบบประกันภัยโดยตรงกับความต้องการ และเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้าถึงระบบประกันภัย ตลอดจนสามารถนำระบบประกันภัยเข้ามาใช้ในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
 


โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก 5 หน่วยงาน ได้แก่ นายประเสริฐ วณิชชากรวิวัฒน์ เกษตรจังหวัดอุทัยธานี นายบุญเลิศ มักสิก ผู้จัดการฝ่ายไร่ บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ จํากัด นางสาวทัศนวรรณ เชาว์ดำรงสกุล หัวหน้ากลุ่มกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับบุคคล สำนักงาน คปภ. นายจักรพันธุ์  รอดอ่อง เกษตรกรชาวไร่อ้อย และนางสาวอภิญญา เฮงประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันภัย บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ร่วมให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในประเด็นต่าง ๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชอ้อย พื้นที่การปลูกอ้อยของเกษตรกร ปัญหาของการปลูกอ้อยจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต การช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ความเป็นมาของการพัฒนาประกันภัยอ้อย ความคุ้มครอง รูปแบบการรับประกันภัย การเคลมประกันภัย ทิศทางและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการดำเนินการกรมธรรม์ประกันภัยอ้อยในอนาคต ทั้งนี้ วิทยากรทุกคนเห็นตรงกันว่าการประกันภัยอ้อยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการใช้ระบบประกันภัยในการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยโดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งการทำประกันภัยพืชผลอ้อยจากภัยแล้งโดยใช้ดัชนีน้ำฝนแล้ง (ตรวจวัดด้วยดาวเทียม) สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวร์รันส์) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตาม “โครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์” ก็สามารถช่วยบริหารความเสี่ยงให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้ด้วย