• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home ทิสโก้ แนะกระจายซื้อ 'บอนด์สั้น' หวั่นหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐาน
ทิสโก้ แนะกระจายซื้อ 'บอนด์สั้น' หวั่นหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐาน

ทิสโก้ แนะกระจายซื้อ 'บอนด์สั้น' หวั่นหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐาน

30 ก.ย. 67 - ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) คาดตลาดหุ้นสหรัฐฯ จ่อปรับฐานในไตรมาส 4 รับ 2 ปัจจัย คือ 1. ราคาหุ้นแพง 2. ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้ง แนะกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุนไปยังตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนดีช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง

นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 4/2567 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับฐานจาก 2 ปัจจัยคือ 1. ราคาหุ้นแพง และรับข่าวธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปมากแล้ว 2. ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ในไตรมาสสุดท้ายของปี TISCO ESU แนะนำให้นักลงทุนกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยการจัดสรรเงินลงทุนบางส่วนไปลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงต่ำและได้ประโยชน์จากการลดดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อย่างชัดเจน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม

สำหรับรายละเอียดปัจจัยที่ TISCO ESU คาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจปรับฐานในไตรมาสที่ 4/2567 มีดังนี้

1. มูลค่าหุ้น (Valuation) ที่แพงและได้สะท้อนความคาดหวังจากการลดอกเบี้ยไปมากแล้ว โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นมาราว 30% ในช่วง 1 ปีก่อนที่ Fed จะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับรอบการลดดอกเบี้ยที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และยิ่งไปกว่านั้นการปรับขึ้นส่วนใหญ่ยังถูกขับเคลื่อนจากระดับ Valuation ของตลาดที่แพงขึ้น โดยค่าพีอีของดัชนี S&P500 ปรับเพิ่มขึ้นมาราว 20% ในช่วง 1 ปีก่อนขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหากเทียบกับรอบการลดดอกเบี้ยในอดีต ค่าพีอีของตลาดที่ปรับขึ้นในระดับเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นในช่วง ุุ6-12 เดือนหลังจากมีการดอกเบี้ยไปแล้ว ซึ่งชี้ว่าตลาดได้สะท้อนความคาดหวังจากการลดอกเบี้ยไปมากแล้วเมื่อเทียบกับในอดีต และทำให้การปรับขึ้นต่อจากนี้เป็นไปได้อย่างจำกัด

2. ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือน พ.ย. โดยหากอ้างอิงจากพฤติกรรมในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีการปรับฐานราว 8% โดยเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งนับเป็นเทรนด์การเคลื่อนไหวของตลาดที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีที่ไม่มีการเลือกตั้ง ในรอบนี้เราคาดว่าตลาดจะผันผวนเช่นเดียวกัน เนื่องจากความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งที่ค่อนข้างสูงจากทั้งนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วของผู้สมัครทั้งสองฝ่าย เช่น อดีตประธานาธิบดีทรัมป์จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเสนอให้มีการลดอัตราภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ในขณะที่นางกมลา แฮร์ริสจากพรรคเดโมแครตเสนอให้มีการขึ้นภาษีทั้งสองประเภท เป็นต้น และจากคะแนนความนิยมที่ยังมีความคู่คี่สูสี ซึ่งทำให้การคาดเดาผลการเลือกตั้งยังเป็นไปได้ค่อนข้างยาก