• ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2566 ลงจาก 3.2% เป็น 2.8% และปี 2567 จาก 3.6% เป็น 3.2% ตามลำดับ หลังแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศมีความเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะโมเมนตัมส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักอ่อนแอ เช่นเดียวกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่แผ่วลงกว่าคาด *** ด้าน SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 เหลือ 3.1% (เดิม 3.9%) จากข้อมูลจริงไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคาดมากและการส่งออกสินค้าที่หดตัวแรงต่อเนื่อง แต่ยังมีแรงหนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยฟื้นตัวดีตามประมาณการ 30 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางที่เร่งตัวและเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ ส่งผลให้ภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่องช่วยลดความเปราะบางในตลาดแรงงาน สำหรับมุมมองปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเร่งขึ้นที่ 3.5% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 37.7 ล้านคน
Home ธนจิรา กรุ๊ปฯโชว์ผู้เชี่ยวชาญบริหารแบรนด์ไลฟ์สไตล์ เร่งขยายพอร์ต รุกระดับภูมิภาค
ธนจิรา กรุ๊ปฯโชว์ผู้เชี่ยวชาญบริหารแบรนด์ไลฟ์สไตล์ เร่งขยายพอร์ต รุกระดับภูมิภาค

ธนจิรา กรุ๊ปฯโชว์ผู้เชี่ยวชาญบริหารแบรนด์ไลฟ์สไตล์ เร่งขยายพอร์ต รุกระดับภูมิภาค

‘บมจ.ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ TAN’ โชว์ศักยภาพผู้เชี่ยวชาญการบริหารแบรนด์ และความสำเร็จในการสร้างความนิยมให้
แบรนด์ไลฟ์สไตล์แฟชั่นลักซ์ชัวรีระดับโลก เช่น Pandora, Marimekko, Cath Kidston, HARNN และ Vuudh ฯลฯ ชูประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดเอกลักษณ์ของแบรนด์สู่ผู้บริโภค (Brand Experience) เตรียมขยายระบบนิเวศทางธุรกิจ ผ่านการต่อยอดแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอสู่กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รับเทรนด์สินค้าลักซ์ชัวรีพุ่ง มุ่งเติบโตระดับภูมิภาค 

นายธนพงษ์ จิราพาณิชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TAN เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ต่างๆ เช่น เครื่องประดับระดับพรีเมียมราคาเข้าถึงได้จากแบรนด์ Pandora, กระเป๋าและเครื่องแต่งกายระดับพรีเมียมแบรนด์ Marimekko, กระเป๋าพรีเมียมในราคาที่สามารถเข้าถึงได้แบรนด์ Cath Kidston, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและความงาม รวมถึงบริการสปาระดับลักซ์ชัวรี อัปเปอร์สเกลหรือบูทีค ลักซ์ชัวรีและไลฟ์สไตล์ และระดับพรีเมี่ยม จากแบรนด์กลุ่ม HARNN ปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายได้ 1,288.41 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขาย 1,257.50 ล้านบาท รายได้จากการบริการ 8.45 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 22.46 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากการขายกว่า 1,257.50 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 64.4% มาจากแบรนด์ Pandora 645.67 ล้านบาท Marimekko 216.97 ล้านบาท Cath Kidston 204.29 ล้านบาท และ HARNN 191.47 ล้านบาท ขณะที่ 6 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายรวมเติบโตขึ้น 17% สิ้นปี 2566 TAN น่าจะมีรายได้เติบโตมากกว่า 17% 

 

ด้วยวิชั่นที่มุ่งมั่นจะเป็นผู้นำกลุ่มบริษัทไลฟ์สไตล์แฟชั่นชั้นนำในระดับภูมิภาค ผ่านการส่งมอบประสบการณ์ที่พิเศษแก่ลูกค้า และสร้างคุณค่าจากการดำเนินงานที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคน โดยบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ระดับโลกในการนำผลิตภัณฑ์มาจัดจำหน่ายในประเทศไทย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดของแบรนด์มาสู่ผู้บริโภค ภายใต้แนวคิด “Bring The Best of The Brand to The Best of Thailand” กระทั่งประสบความสำเร็จในการสร้างความนิยมให้แบรนด์อย่างมากในประเทศไทย และกำลังมุ่งสู่การเติบโตในระดับภูมิภาค  

 


ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้จุดแข็งในการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จากการเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นที่มีแบรนด์สินค้าที่มีความหลากหลาย มีศักยภาพในการเติบโตสูง และมีช่องทางการจัดจำหน่ายครอบคลุมหลายช่องทาง ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ ภายในประเทศ และต่างประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการทุกกลุ่มลูกค้า โดยแบรนด์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์และแฟชั่นภายใต้พอร์ตโฟลิโอของกลุ่มบริษัทฯ ประสบความสำเร็จระดับโลก มีอัตราการเติบโตสูง    

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังประสบความสำเร็จในการเป็นผู้บุกเบิกและนำเสนอแบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นแบรนด์ใหม่ให้แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย จนสามารถขยายสาขาและฐานลูกค้าอย่างรวดเร็ว รวมถึงการปรับกลยุทธ์เพิ่มแบรนด์สินค้าเข้าสู่พอร์ตโฟลิโอ และต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยการวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้เชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และการสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ทำให้แบรนด์ภายใต้กลุ่มบริษัทฯ ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมี 5 แบรนด์หลัก 1.Pandora 43 สาขา 2.Marimekko 13 สาขา 3.Cath Kidston 35 สาขา ต่างประเทศอีก 6 สาขา และโอนแบรนด์อีก 2 แบรนด์ คือ HARNN และ Vuddh 
  
ทั้งนี้ การขยายระบบนิเวศทางธุรกิจจากแบรนด์ภายใต้พอร์ตโฟลิโอเป็นการต่อยอดความสำเร็จของแบรนด์ไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ผ่านการส่งมอบประสบการณ์สุดพิเศษให้แก่ผู้บริโภคในมิติอื่นๆ เพื่อให้แบรนด์ทั้งหมดของกลุ่มบริษัทฯ เติบโตแบบเกื้อหนุนกัน(Group Brand Synergy) จากการที่ลูกค้าแต่ละแบรนด์สินค้าของกลุ่มบริษัทฯ สามารถเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการของแบรนด์อื่นๆ

ในกลุ่มบริษัทฯ ด้วย นอกจากนี้ TAN เล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจจึงเข้าซื้อแบรนด์ HARNN ซึ่งเป็นแบรนด์สัญชาติไทยชั้นนำโดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ากลุ่มความงาม สปาและอโรมาเธอราพีจากธรรมชาติ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พอร์ตธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งแบรนด์กลุ่ม HARNN เติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีสาขาหน้าร้าน และสาขาแฟรนไชส์สปาในประเทศไทยรวม 23 สาขา และในต่างประเทศจำนวน 9 สาขา ครอบคลุมญี่ปุ่น ฮ่องกง เวียดนาม และซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ผลการดำเนินงานของแบรนด์กลุ่ม HARNN เติบโตโดดเด่น โดยปี 2565 มียอดขาย 191.47 ล้านบาท เติบโต 88.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนศักยภาพของกลุ่มธุรกิจได้อย่างดี 

ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมค้าปลีกภายในประเทศ คาดว่าจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนการเกิดโรคระบาดภายในปี 2566 จาก การกลับมาใช้จ่ายอย่างปกติ และการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนไทยจะทยอยฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นเป็น 10.1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2569 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในช่วงปี 2564-2569 คิดเป็นร้อยละ 3.8 ต่อปี จากการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาล รวมถึงการได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอีกด้วย  

นอกจากนี้ แบรนด์ภายใต้กลุ่มบริษัทฯ อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูง จากการเติบโตของรายได้ครัวเรือน และการเติบโตของชุมชนเมือง ทั้งนี้ Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมกระเป๋าถือระดับพรีเมียมในราคาที่สามารถเข้าถึงได้จะเติบโตในระดับร้อยละ 16.7 อุตสาหกรรมกระเป๋าและเสื้อผ้าในระดับพรีเมียมจะเติบโตร้อยละ 9.2 อุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมความงามและสุขภาพและบริการสปาในระดับพรีเมียมจะเติบโตร้อยละ 23.6 อุตสาหกรรมกลุ่มเครื่องประดับระดับพรีเมียมในราคาที่สามารถเข้าถึงได้จะเติบโตร้อยละ 11.8 ในช่วงระหว่างปี 2565 ถึงปี 2569  

“TAN มุ่งตอบสนองไลฟ์สไตล์กลุ่มลูกค้า ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญ รวมทั้งขยายพอร์ตธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยต่อยอดธุรกิจจากแบรนด์ภายใต้พอร์ตโฟลิโอ สู่ธุรกิจไลฟ์สไตล์อาหารและเครื่องดื่ม ผ่านการตั้งป๊อปอัพ-คาเฟ่ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ Marimekko pop-up café และ Cath Kidston Tearoom เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วม และถ่ายทอดเอกลักษณ์ของแบรนด์ผ่านการใช้จริง เพื่อให้ลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ร่วมกับแบรนด์ ผ่านการมารับประทานอาหารในร้านคาเฟ่ และกระตุ้นการซื้อผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ รวมทั้งทำให้แบรนด์เป็นรู้จักเพิ่มขึ้นจากการแชร์ไลฟ์สไตล์ลงโซเชียลมีเดียของลูกค้าเพื่อสร้างการเติบโตแบบ Synergy ของแบรนด์ภายใต้กลุ่มบริษัทฯ มุ่งสู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ชั้นนำระดับภูมิภาค” นายธนพงษ์ กล่าว 

ปัจจุบัน TAN ได้ยื่นแบบคำขออนุณาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ลต ไปแล้ว ปีนี้ TAN พร้อมจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์  มีวัตถุประสงค์ระดมทุน 3 เรื่อง คือ ใช้เป็นเงินลงทุนขยายระบบนิเวศทางธุรกิจ, ใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน รวมทั้งใช้ชำระคืนเงินกู้อื่นๆ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ