• ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2566 ลงจาก 3.2% เป็น 2.8% และปี 2567 จาก 3.6% เป็น 3.2% ตามลำดับ หลังแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศมีความเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะโมเมนตัมส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักอ่อนแอ เช่นเดียวกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่แผ่วลงกว่าคาด *** ด้าน SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 เหลือ 3.1% (เดิม 3.9%) จากข้อมูลจริงไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคาดมากและการส่งออกสินค้าที่หดตัวแรงต่อเนื่อง แต่ยังมีแรงหนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยฟื้นตัวดีตามประมาณการ 30 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางที่เร่งตัวและเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ ส่งผลให้ภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่องช่วยลดความเปราะบางในตลาดแรงงาน สำหรับมุมมองปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเร่งขึ้นที่ 3.5% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 37.7 ล้านคน
Home สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดยุทธศาสตร์ ปี 67-69 รุกแก้ปัญหาหนี้ ตามกรอบ ESG
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดยุทธศาสตร์ ปี 67-69 รุกแก้ปัญหาหนี้ ตามกรอบ ESG

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดยุทธศาสตร์ ปี 67-69 รุกแก้ปัญหาหนี้ ตามกรอบ ESG

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ อนุมัติกรอบตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมฯ ปี 2567 – 2569 เพิ่มภารกิจแก้ปัญหาหนี้ ชูประเด็น ESG เป็นกรอบการดำเนินงาน

 
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ครั้งที่ 5/2566 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบทิศทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ปี 2567 – 2569 ซึ่งมีการปรับเพิ่มภารกิจสำคัญที่สมาชิกสมาคมฯ จะร่วมมือกันผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ รวมถึงส่งเสริมความรู้การบริหารจัดการเงินแก่ประชาชน โดยดำเนินการภายใต้กรอบ ESG ที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้สถาบันการเงินของรัฐซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาคการเงินของประเทศ ได้ร่วมกันสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่มุ่งใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงสนับสนุนภาคการผลิตและภาคบริการในการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 


ทั้งนี้ ทิศทางการดำเนินงานดังกล่าวจะขับเคลื่อนผ่านแผนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน (3S) ได้แก่ 1.Sustainability การขับเคลื่อนงานตามนโยบายภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล โดยสนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เป็นธรรม และการดำเนินงานที่คำนึงถึง ESG พร้อมสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ 2.Synergy การยกระดับความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง อาทิ ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงินที่สะดวก ปลอดภัย รวมถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ของสมาชิกสมาคมฯ และ 3.Strong การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อยกระดับการบริหารงานของสมาคมฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 


สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันการเงินของรัฐ ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ บอลรูม 3 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566