• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home สำนักงาน คปภ. จุดประกาย “ผู้ประเมินวินาศภัย” เร่งพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ
สำนักงาน คปภ. จุดประกาย “ผู้ประเมินวินาศภัย” เร่งพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ

สำนักงาน คปภ. จุดประกาย “ผู้ประเมินวินาศภัย” เร่งพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ

สำนักงาน คปภ. จุดประกาย “ผู้ประเมินวินาศภัย” เร่งพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และมาตรฐานการดำเนินงาน เพื่อคุ้มครองดูแลประชาชนด้านการประกันวินาศภัย


นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิด “งานสัมมนาผู้ประเมินวินาศภัย ปี 2567” ณ ห้องประชุมอัศวิน แกรนด์ A โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านกำกับคนกลางและประกันภัยภูมิภาค ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) นายปฏิภาณ สุดอารามนายกสมาคมผู้ประเมินวินาศภัย นายราเชนทร์ ดาวเรือง นายกสมาคมการค้าผู้สำรวจและประเมินวินาศภัยไทย ผู้ตรวจสอบและประเมินวินาศภัย เข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ประเมินวินาศภัย การให้บริการออกใบอนุญาตผู้ประเมินวินาศภัยทางอิเล็กทรอนิกส์(e-licensing) การสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของผู้ประเมินวินาศภัย รวมถึงภาพรวม แนวโน้ม และสถิติการประเมินวินาศภัยในปัจจุบันโดยมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์บรรยายให้ความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานของผู้ประเมินวินาศภัยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

 

ชูฉัตร ประมูลผล


สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการประเมินวินาศภัย เนื่องจากปัจจุบันภาคธุรกิจประกันภัยต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาคธุรกิจประกันภัย อาทิ ไฟไหม้ น้ำท่วม และลมพายุ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ดังนั้น การประเมินวินาศภัยจึงถือเป็นกระบวนการสำคัญต่อธุรกิจประกันภัยที่ช่วยให้สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น และกำหนดการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมแก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทประกันภัย แต่ยังส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัย และความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

 


นอกจากนี้ ผู้ประเมินวินาศภัยยังนับได้ว่าเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบประกันภัย เนื่องจากผู้ประเมินวินาศภัยถือเป็นคนกลางประกันภัยที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการชดใช้สิน’ไหมทดแทน โดยมีหน้าที่ตรวจสอบ วิเคราะห์สาเหตุและประเมินความเสียหายของวินาศภัย เพื่อให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกิดความเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน และยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการป้องกันการฉ้อฉลด้านการประกันภัย ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบประกันภัย

 


ดังนั้น การสัมมนาผู้ประเมินวินาศภัย ปี 2567 ในครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประเมินวินาศภัยในตลาดมีมาตรฐานการดำเนินงาน และศักยภาพที่สามารถตอบรับการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความรู้ ของผู้ตรวจสอบและประเมินวินาศภัยในสังกัดสามารถตอบสนองการขยายตัวของตลาดประกันวินาศภัย และพร้อมรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ โดยมีผู้ประเมินวินาศภัยเข้าร่วมรับการสัมมนากว่า 200 คน


เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและคุ้มครองประชาชนด้านการประกันภัย ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนและพัฒนาการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564-2568) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพร้อมรับความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคตโดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้เปิดใช้ระบบการให้บริการออกใบอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Licensing ซึ่งเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลของสำนักงาน คปภ. ที่เกี่ยวข้องกับคนกลางประกันภัยเข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของภาครัฐอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับ/ขอต่ออายุใบอนุญาต อีกทั้งประชาชนยังสามารถเข้าถึงข้อมูลคนกลางประกันภัยได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง สะดวกรวดเร็ว นอกจากนั้นสำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินโครงการ OIC Gateway แพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลด้านการประกันภัยอย่างครบวงจร ซึ่งเกิดจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน คปภ. กับภาคธุรกิจประกันภัย ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านการประกันภัยต่าง ๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว จบในที่เดียว และยังเป็นช่องทางที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วยบริการตรวจสอบใบอนุญาตตัวแทน-นายหน้า ได้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือสำนักงาน คปภ. ภาค/จังหวัด ทั่วประเทศ