• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดในการประชุม FOMC วันที่ 6-7 พ.ย. นี้ คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ลงมาอยู่ที่ระดับ 4.50-4.75% สอดคล้องกับที่ตลาดคาด และยังมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ต่อเนื่องในเดือนธ.ค. 2567 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.25-4.50% ณ สิ้นปี 2567 เนื่องจาก เงินเฟ้อที่ปรับลดลงเข้าใกล้เป้าหมายของเฟด เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอลงสู่ “Soft Landing” และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีส่วนกำหนดทิศทางดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า
Home 'ออมสิน'ยกหนี้ NPLs สินเชื่อโควิด 19 เพิ่มอีกกว่า 110,000 ราย ตามนโยบายรัฐ
'ออมสิน'ยกหนี้ NPLs สินเชื่อโควิด 19 เพิ่มอีกกว่า 110,000 ราย ตามนโยบายรัฐ

'ออมสิน'ยกหนี้ NPLs สินเชื่อโควิด 19 เพิ่มอีกกว่า 110,000 ราย ตามนโยบายรัฐ

ออมสิน ยกหนี้ NPLs สินเชื่อโควิด 19 เพิ่มอีกกว่า 110,000 ราย ตามนโยบายรัฐ รวมช่วยปลดหนี้ประชาชนกลุ่มเปราะบางแล้วมากกว่า 830,000 ราย คิดเป็นเงินต้น 5,800 ลบ.

 

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงมอบหมายให้ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย หรือ NPLs เพื่อไม่ให้เสียประวัติเครดิต และเข้าถึงการกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เป็นปกติ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยจัดสรรงบประมาณชดเชยค่าเสียหายจากหนี้เสียให้ธนาคารมาชำระหนี้แทนลูกหนี้ โดยในปี 2567 ดำเนินการชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว 2 ครั้ง ช่วยปลดหนี้ให้ลูกหนี้จำนวนกว่า 720,000 ราย และล่าสุด ธนาคารได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล จึงดำเนินการชำระหนี้และปิดบัญชีให้ลูกหนี้เพิ่มเติมทันที อีกกว่า 110,000 ราย รวมดำเนินการทั้งสิ้น 3 ครั้ง สามารถปลดหนี้ให้ลูกหนี้ได้แล้วกว่า 830,000 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินต้นรวมกว่า 5,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการคลังที่ให้ธนาคารออมสินดำเนินงานโดยไม่เน้นกำไรสูงสุด มีกำไรในระดับที่เหมาะสม (Responsible Profit) และขยายการช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นในทุกมิติ

 

อนึ่ง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLs ของโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันการแก้ปัญหาหนี้ประชาชนทุกกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ