• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home เอสซีจี ชู Green Infrastructure สร้างความแข็งแรงยั่งยืนสู่โลก
เอสซีจี ชู Green Infrastructure สร้างความแข็งแรงยั่งยืนสู่โลก

เอสซีจี ชู Green Infrastructure สร้างความแข็งแรงยั่งยืนสู่โลก

ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี ร่วมเป็น Keynote Speaker เรื่อง Green Infrastructure ในงาน SETA 2024 มุ่งนำเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Infrastructure) มาใช้กับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งเข้าถึงคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

 


เอสซีจี ในฐานะองค์กรผู้นำด้าน ESG ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยร่วมแสดงวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน” (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ในอนาคต และ “โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Infrastructure) เช่น ข้อมูลสายส่ง สำหรับพลังงานสะอาด มาใช้กับกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ทั้งรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ทั้งนี้ การร่วมบรรยาย แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศ และพลังงานผันผวน เป็นหนึ่งในการระดมสมองเพื่อหาวิธีการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกของเรา

 


งานแสดงพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (Sustainable Energy Technology Asia 2024) หรือ SETA 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy ประกอบด้วย งานแสดงเทคโนโลยีแสงอาทิตย์และระบบการกักเก็บพลังงาน (Solar+Storage Asia 2024) งานยานยนต์อนาคตของเอเชีย (Sustainable Mobility Asia 2024) งานแสดงสินค้าทางด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม (FTI Energy Expo 2024) งานฟอรั่มในระดับรัฐมนตรีและระดับผู้นำในภาคตะวันออกและอาเซียน The Fourth Asia CCUS Network Forum และงานประชุมวิชาการเรื่องเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ครั้งที่ 1 (The Thai Photovoltaic Science and Engineering Conference) ตั้งแต่ปี 2016 SETA มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานของอาเซียนและเอเชีย และมุ่งสร้างการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ซึ่งประสบความสำเร็จ ได้รับความร่วมมืออย่างดีตลอด 8 ปีที่ผ่านมา