• ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2566 ลงจาก 3.2% เป็น 2.8% และปี 2567 จาก 3.6% เป็น 3.2% ตามลำดับ หลังแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศมีความเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะโมเมนตัมส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักอ่อนแอ เช่นเดียวกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่แผ่วลงกว่าคาด *** ด้าน SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 เหลือ 3.1% (เดิม 3.9%) จากข้อมูลจริงไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคาดมากและการส่งออกสินค้าที่หดตัวแรงต่อเนื่อง แต่ยังมีแรงหนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยฟื้นตัวดีตามประมาณการ 30 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางที่เร่งตัวและเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ ส่งผลให้ภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่องช่วยลดความเปราะบางในตลาดแรงงาน สำหรับมุมมองปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเร่งขึ้นที่ 3.5% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 37.7 ล้านคน
Home AIS จับมือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาฯร่วมพัฒนาหลักสูตรพิเศษ
AIS จับมือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาฯร่วมพัฒนาหลักสูตรพิเศษ

AIS จับมือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาฯร่วมพัฒนาหลักสูตรพิเศษ

จากประสบการณ์ของบุคลากรมืออาชีพ สร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ พร้อมก้าวสู่โลกทำงานแห่งอนาคต
                 
AIS จับมือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Business School) ร่วมกันจัดทำหลักสูตร “Strategic Leadership in the Future Digital by CBS x AIS” ถ่ายทอดประสบการณ์จากการทำงานของบุคลากรมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญเชิงกลยุทธ์การบริหาร การตลาด เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งต่อองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ สร้างภาวะความเป็นผู้นำให้นิสิต มีความพร้อมต่อการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล 

 


นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “เอไอเอส ได้เดินหน้าผลักดันองค์ความรู้ให้คนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ที่ทันสมัยผ่านแพลตฟอร์ม AIS Academy เสริมขีดความสามารถและการพัฒนาตนเองให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกและเทคโนโลยี  ผ่านการใช้ศักยภาพความแข็งแกร่งของ AIS ในด้านโครงข่ายและดิจิทัลเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อเป็นการต่อยอด “ภารกิจ คิดเผื่อ เพื่อคนไทย” ที่จะยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของคนไทยให้มีทักษะความรู้ ความเข้าใจและเท่าทันต่อดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้นอกจากจะก้าวสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญและชี้นำทิศทางของโลกดิจิทัลได้แล้ว ยังทำให้บุคลากรของเอไอเอสเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการขับเคลื่อนประเทศจากทุนมนุษย์ได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

วันนี้ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง AIS และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการร่วมจัดทำหลักสูตร “Strategic Leadership in the Future Digital by CBS x AIS” ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการคิดและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ โดยมีเนื้อหาด้านการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดจากดิจิทัล การตัดสินใจและการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อผลลัพธ์เชิงพาณิชย์  กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล  การส่งเสริมนวัตกรรมการปฏิบัติและการเป็นผู้ประกอบการด้านดิจิทัล และการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน  พร้อมนำ used case ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆที่เป็นความสำเร็จขององค์กรจากผู้เชี่ยวชาญของเอไอเอสในแต่ละด้าน มาถ่ายทอดให้แก่นิสิตระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างภาวะความเป็นผู้นำและสามารถเผชิญกับความท้าทายในธุรกิจของโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  

 


ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  หรือ Chulalongkorn Business School (CBS) กล่าวว่า “เราเล็งเห็นความสำคัญของเทรนด์การทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธุรกิจที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล เราจึงได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันยุคสมัย พร้อมส่งเสริมให้นิสิตได้มีความรู้ ทักษะและมีประสบการณ์จริงจากผู้เชี่ยวชาญในโลกธุรกิจที่หลากหลาย รวมถึงการได้ลงมือฝึกปฏิบัติจากการทำงานจริง ซึ่งสอดคล้องกับนโนบายของคณะฯ ที่ได้มีการจัดตั้ง Chulalongkorn Business Enterprise ซึ่งเป็นบริษัทจริง เน้นการปฏิบัติงานจริงอยู่ในคณะฯ เพื่อให้นิสิตได้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนทักษะต่างๆ และสร้างเสริมประสบการณ์ตลอด 4 ปี

 


เช่นเดียวกับความร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้ เราเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรมืออาชีพและมีประสบการณ์ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนให้กับนิสิตทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และยังเปิดกว้างให้แก่ศิษย์เก่าและประชาชนที่สนใจอีกด้วย  ในขณะเดียวกันการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจและมีความถนัดในการสร้างคน ทางคณะฯ ก็ได้จัดผู้ทรงคุณวุฒิเป็นวิทยากรในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน Digital Marketing และ Digital Engagement ให้แก่บุคลากรของเอไอเอสด้วยเช่นกัน เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดในการทำงาน เพราะความมุ่งหวังของเราคือ การเป็น  Digital Social Enterprise School ที่เป็นสถาบันแห่งการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อสร้างธุรกิจในโลกดิจิทัลที่แข็งแรงควบคู่ไปกับการแบ่งปันให้แก่สังคมในโลกยุคดิจิทัล สมกับแนวคิดของคณะฯ ที่ว่า Real business in the school”