• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home AIS บุกโรงเรียน กทม. จัดกิจกรรม “วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์”
AIS บุกโรงเรียน กทม. จัดกิจกรรม “วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์”

AIS บุกโรงเรียน กทม. จัดกิจกรรม “วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์”

เดินหน้าสู่การเป็น โรงเรียนอุ่นใจไซเบอร์ 100% ผ่าน “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์”
 
ผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) พบว่าในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 10-15 ปี ในพื้นที่ กรุงเทพฯ กว่า 82.97% อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา นั่นหมายความว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า 81.49% ขาดทักษะด้านการจัดสรรเวลาในการใช้งานบนโลกออนไลน์ และ 75.15% ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตัวเองจากภัยในโลกไซเบอร์ ซึ่งที่ผ่านมา AIS อุ่นใจ CYBER และ กรุงเทพมหานคร ได้ทำงานร่วมกันผ่านการนำหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์  ให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้

 


ล่าสุดเดินหน้าจัดกิจกรรม “กทม. x AIS อุ่นใจ CYBER School Tour วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์” ด้วยแนวคิด Gamification หรือ โลกแห่งการเรียนรู้ผ่านเกม นำร่องใน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนนาหลวง, โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์), โรงเรียนประชาอุทิศ(จันทาบอนุสรณ์) และ โรงเรียนบ้านบางกะปิ  ตั้งเป้าเป็น โรงเรียนอุ่นใจไซเบอร์ พร้อมขยายผลการสร้างพลเมืองดิจิทัล ยกระดับการใช้งานสื่อและโลกออนไลน์ให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด กทม.กว่า 250,000 คน เข้าศึกษาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์และได้รับประกาศนียบัตรทุกโรงเรียนรวม 437 แห่ง ภายในปีการศึกษา 2567  โดยเอไอเอสจะได้ร่วมกับสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จัดรูปแบบการส่งเสริมที่เหมาะสมโดยบูรณาการการเรียนรู้หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของการเรียนการสอนที่สนับสนุนทักษะวิทยาการคำนวณ และการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) แก่โรงเรียนในสังกัด กทม.ต่อไป

 


นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กลุ่ม Gen Z หรือเด็กในที่อยู่ในช่วงประถม มัธยม เป็นกลุ่มที่เติบโตมาพร้อมกับโลกดิจิทัล ทำให้พวกเขามีความคุ้นเคยกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการที่เด็กๆ ต้องใกล้ชิดกับภัยที่แฝงมากับการใช้งานอย่างไม่รู้ตัว โดยที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการใช้งานดิจิทัลเพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ สอดคล้องกับภารกิจด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครในปีนี้ที่เราต้องการสร้างทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ หรือ Critical Thinking ให้กับเด็กๆ นักเรียน

อย่างการทำงานร่วมกับ AIS โดยนำหลักสูตรดิจิทัลอย่าง หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ มาใช้ในโรงเรียน กทม. เรามุ่งหวังให้เข้าไปบูรณาการเป็นสื่อการเรียนการสอนของครู ผ่านไปยังนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมนำร่องใน 4 พื้นที่ได้แก่ โรงเรียนนาหลวง, โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์), โรงเรียนประชาอุทิศ(จันทาบอนุสรณ์) และ โรงเรียนบ้านบางกะปิ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างโรงเรียนต้นแบบที่ ครู นักเรียน และบุคลากร ผ่านการศึกษาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ มีทักษะด้านดิจิทัลแบบครบถ้วน และเราต้องการที่จะทำงานร่วมกันไปอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะสร้างโรงเรียนอุ่นใจปลอดภัยไซเบอร์ 100% ในปีการศึกษา 2567 ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ให้นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ กทม. ใช้งานโลกออนไลน์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์

 


ด้าน นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “กิจกรรมวัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์ เกิดขึ้นจากความตั้งใจระหว่าง AIS กับ กทม. ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลให้กับน้องๆ นักเรียน ด้วยการถ่ายทอดเนื้อหาจากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ออกมาในรูปแบบ Gamification เพื่อให้เข้าถึงเด็กนักเรียนได้ง่าย ที่นอกจากจะมีความสนุกสนานแล้วยังสอดแทรกไปด้วยความรู้ และนำไปสู่การเข้าไปเรียนรู้บทเรียนเต็มต่อไป กิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับน้องๆ นักเรียน เยาวชน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะทำให้ระดับสุขภาวะด้านดิจิทัลของนักเรียนใน กทม. ดียิ่งขึ้น จนนำไปสู่การแก้ไขและลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานออนไลน์ทุกรูปแบบ AIS อุ่นใจ CYBER พร้อมเป็นแกนกลางในการสร้างความตระหนักรู้เพราะเราเชื่อว่าจะเป็นการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ได้อย่างยั่งยืน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index