• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home AIS อุ่นใจ Cyber ออกโรงเตือนสติคนไทย เสี่ยงผิด พรบ.คอมฯในวันโกหก
AIS อุ่นใจ Cyber ออกโรงเตือนสติคนไทย  เสี่ยงผิด พรบ.คอมฯในวันโกหก

AIS อุ่นใจ Cyber ออกโรงเตือนสติคนไทย เสี่ยงผิด พรบ.คอมฯในวันโกหก

AIS อุ่นใจ Cyber ออกโรงเตือนสติคนไทย เสี่ยงผิด พรบ.คอมฯ เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์ ในวันโกหก (April Fools' Day) 1 เมษายน

 

31 มีนาคม 2564: จุดเริ่มต้นของวันโกหก ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี หรือที่เรียกกันติดปากกันว่า “เมษาหน้าโง่” บางแห่งเล่าว่าเดิมทีวันฉลองปีใหม่ของชาวยุโรปคือวันที่ 1 เมษายน คล้ายๆ วันสงกรานต์ของบ้านเราที่นับว่าเป็นวันปีใหม่ไทย แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการกำหนดวันปีใหม่ขึ้นอีกครั้งเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่ด้วยปัญหาเรื่องการสื่อสารยังคงทำให้ประชาชนบางส่วนไม่ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงทำให้มีการจัดวันปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ทำให้เกิดการล้อเลียนว่าเป็น “เมษาหน้าโง่” และกลายเป็นวันที่คนทั่วโลกมักจะแกล้งกันด้วยการโกหกเรื่องต่างๆ กับกลุ่มเพื่อนนั่นเอง

 

 

ทำให้ในปัจจุบันที่โลกออนไลน์กลายเป็นแหล่งรวมข้อมูล ที่มีทั้งจริงและปลอม ปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอม หรือการโกหกหลอกลวงกันบนโลกออนไลน์ จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ถูกยกเป็นวาระแห่งชาติที่มีการระดมหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยกันหาวิธีการรับมือ เพราะผลกระทบจากการโกหกหลอกลวงกันบนโลกออนไลน์ ที่เดิมถูกมองว่าเป็นเรื่องล้อเล่น แต่วันนี้สามารถสร้างผลกระทบตั้งแต่ความเข้าใจผิดในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการกลั่นแกล้งหลอกลวงจากการฉวยโอกาสของมิจฉาชีพ และอาจนำมาซึ่งการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ได้อีกด้วย

 

AIS อุ่นใจCyber ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้ออนไลน์อย่างถูกวิธี ในฐานะเพื่อนคู่คิดดิจิทัลของคนไทย จึงขอเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญร่วมเตือนคนไทยให้ใช้ออนไลน์อย่างมีสติ ไม่นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จที่อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมกับเช็คข้อมูลให้ชัวร์ก่อนส่งต่อเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 1 เมษายน เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ตาม “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ปี 2560” ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ โดยการนําเข้าข้อมูลมีความบิดเบือน เป็นความจริงบางส่วน หรือไม่เป็นความจริงทั้งหมด โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน มีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ส่งต่อมีอัตราโทษเท่ากัน รวมถึง “พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548 มาตรา 9 (3)” ที่ว่าห้ามเสนอข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือทั่วราชอาณาจักรมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ทั้งนี้ AIS อุ่นใจCyber ได้จัดทำวีดีโอชุด Fool's Day ไม่ Foolish https://youtu.be/gdYw5xyqVWw เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการใช้ออนไลน์อย่างมีสติ และสามารถติดตามกิจกรรมและการใช้งานอินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยได้ที่ Facebook : AIS Sustainabilit