• SCB EIC เผยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ส.ค. 2024 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 7% ทำให้ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยที่ 2.6% และ 2.8% ในปี 2024 และ 2025 ยังถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ที่ 5.3% --- ปัจจัยการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย
Home ASIAN ปรับกลยุทธ์รับไตรมาส 1 ลุยแผนลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ASIAN ปรับกลยุทธ์รับไตรมาส 1 ลุยแผนลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ASIAN ปรับกลยุทธ์รับไตรมาส 1 ลุยแผนลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

‘เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น หรือ ASIAN’ งบไตรมาส 1/2566 รายได้อยู่ที่ 2,272 ล้านบาท กำไรสุทธิอยู่ที่ 51 ล้านบาท เหตุหลายปัจจัยลบกระทบ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งปรับตัวลดลง ด้านธุรกิจทูน่าและอาหารสัตว์น้ำเติบโตสวนทางท่ามกลางต้นทุนวัตถุดิบสูง มองภาพรวมผลงานปีนี้โดนปัจจัยภายนอกที่ไม่แน่นอนกดดัน ASIAN คุมเข้มการบริหารจัดการ พร้อมทั้งเดินหน้าแผนปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ขยายกำลังการผลิต คงงบลงทุน 1,371 ล้านบาท เตรียมความพร้อมสร้างฐานการเติบโตใหม่

นายเอกกมล ประสพผลสุจริต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน บริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่เยือกแข็ง อาหารสัตว์น้ำ ทูน่า และอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าและของตนเอง กล่าวว่า "ในปี 2566 เป็นปีที่ต้องปรับกลยุทธ์รับความท้าทายจากปัจจัยลบภายนอก โดยเฉพาะจากตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็ง โดยลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อเนื่องจากลูกค้าต้องปรับลดปริมาณสินค้าคงคลังให้สอดรับกับระยะเวลาการสั่งซื้อใหม่ที่ปรับสั้นลง ทั้งนี้ บริษัทฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการภายในอย่างรัดกุม ขณะที่มองภาพรวมบริษัทปี 2566 หลังผ่านไตรมาส 1 ว่า ปีนี้รายได้รวมของกลุ่มอาจชะลอตัวลงประมาณ 4% จากปี 2565 ที่มีรายได้ 11,164 ล้านบาท แต่มองในระยะยาว ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็ง ยังสามารถฟื้นตัวและเป็นธุรกิจหลักของบริษัทได้ตามแผน"

บริษัทฯ ยังมั่นใจเดินหน้าแผนการลงทุนปี 2566 ใน 3 ธุรกิจ จำนวน 1,371 ล้านบาท สำหรับใช้ขยายกำลังการผลิตและสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 ในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง จำนวน 1,173 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ดและเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler) ใหม่ จำนวน 54 ล้านบาท และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและนำระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อลดต้นทุนพลังงาน จำนวน 144 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 บริษัทฯ มีรายได้อยู่ที่ 2,272 ล้านบาท ลดลง 19.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน และลดลง 9.8% จาก 2,520 ล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักจากยอดขายธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงลดลงเพราะปริมาณสินค้าคงคลังตลาดโดยรวมในสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาการสั่งซื้อที่สั้นลง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาตลอดครึ่งปีแรกจึงจะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ธุรกิจทูน่าและธุรกิจอาหารสัตว์น้ำจะมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ก็ได้รับผลประทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่ยังคงปรับตัวสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้กำไรสุทธิ ไตรมาส 1/2566 ลดลงมาอยู่ที่ 51 ล้านบาท

การมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาคุณภาพอาหารสัตว์น้ำของบริษัท ทำให้บริษัทฯสามารถเรียกความเชื่อมั่นของเกษตรได้มากขึ้น และมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า โดยเป็นการปรับราคาและเพิ่มปริมาณการขายอาหารกุ้งถึง 7 % ในขณะที่ปริมาณการขายอาหารปลาลดไปราว 2 %

สำหรับธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ตลาดสหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดหลักของธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งที่เป็นกลุ่มสินค้ามูลค่าเพิ่ม (VAP) ประสบกับปัญหาสินค้าคงคลังที่มีปริมาณสูงและจากการบริโภคของภาคครัวเรือนลดลง รวมทั้งยังมีปัจจัยเสริมจากความต้องการในการนำสินค้าเข้าใหม่ลดลง ทำให้บริษัทมองว่าเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายทำให้บริษัทต้องจัดการระดับสินค้าอย่างระมัดระวัง และต้องปรับกลยุทธ์การขายเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้

นายเอกกมล ย้ำถึงทิศทางกลุ่มบริษัท เราอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร แม้ปัจจัยการส่งออกกระทบโดยเฉพาะฐานลูกค้าในสหรัฐฯ และยุโรป แต่มองระยะยาว ธุรกิจเกี่ยวกับอาคารยังคงมีความต้องการ และมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่สอดรับเทรนด์ Pet Humanization หรือ สัตว์เลี้ยงคือสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น กลยุทธ์ที่จะมุ่งเน้นในการเติบโตคือ การขยายฐานลูกค้า และการวิจัยเพื่อสร้างคุณค่าให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงแผนการลงทุนที่วางไว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน จะเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต