• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home BGRIM ชู 7 ยุทธศาสตร์สู่พลังงานสะอาด เป้า 10,000 MW
BGRIM ชู 7 ยุทธศาสตร์สู่พลังงานสะอาด เป้า 10,000 MW

BGRIM ชู 7 ยุทธศาสตร์สู่พลังงานสะอาด เป้า 10,000 MW

BGRIM ประกาศ 7 ยุทธศาสตร์ ก้าวสู่ผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก เสริมโมเดลธุรกิจด้วยดิจิทัลพลังงานสะอาด สู่เป้าหมาย 10,000 เมกะวัตต์

 

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า บี.กริม เพาเวอร์ได้ประกาศ 7 ยุทธศาสตร์ มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately) ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ บี.กริม เพาเวอร์ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี สร้างคุณค่าให้กับสังคมในรูปแบบของ Sustainable Utility Solution Provider ด้วยการผลิตพลังงานที่มีคุณภาพสูงและบริการแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ “ค่านิยมองค์กร” บี.กริม ใน 4 เรื่องหลัก คือ ความเป็นมืออาชีพ การมีทัศนคติที่ดี ความร่วมมือกัน และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สำหรับ 7 ยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก ประกอบด้วย

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานสะอาดภายใต้รูปแบบสัมปทานกับภาครัฐในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (B2G) (Significantly expand our gas and renewable generating capacity in the region (B2G)) เพื่อให้บริการไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงอันเป็นรากฐานสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยจะเป็นการพัฒนาโครงการใหม่หรือการเข้าซื้อกิจการ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เช่น สปป.ลาว, เวียดนาม, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, กัมพูชา และฟิลิปปินส์

 


 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างบทบาทสำคัญในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และเชื้อเพลิงสะอาด (Become a significant player in the LNG business and clean fuel supply) จากความต้องการ LNG ของภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีการเติบโตสูงที่สุดในโลก ปัจจุบัน บี.กริม เพาเวอร์ มีโควต้าการนำเข้า LNG จำนวน 1,200,000 ตันต่อปี อันจะนำมาสู่โอกาสในการบริหารต้นทุนการผลิตที่ดีขึ้น และโอกาสในการขยายธุรกิจใหม่ ทั้งด้านธุรกิจไฟฟ้าและการจำหน่าย LNG นอกจากนี้ยังศึกษาเชื้อเพลิงทางเลือกต่างๆ เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ให้บริการลูกค้าอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภคแบบครบวงจร (Grow our B2B solution offerings to industrial customers) ปัจจุบัน บี.กริม เพาเวอร์ มีการจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำที่มีคุณภาพสูงให้กับโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 300 รายอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม โดยจะขยายขอบเขตการให้บริการให้ครอบคลุมบริการด้านสาธารณูปโภคแบบครบวงจร และขยายพื้นที่การให้บริการที่นอกเหนือไปจากนิคมอุตสาหกรรมที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนแนวโน้มการกระจายตัวแบบไม่รวมศูนย์ (Decentralization) มุ่งสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ให้บริการสาธารณูปโภคครบวงจรสำหรับกลุ่มอาคารพาณิชย์ (Build a foothold in commercial and building segments) ในรูปแบบการนำเสนอโซลูชั่นทางด้านสาธารณูปโภค ภายใต้การผนึกกำลังของบริษัทต่างๆ ในเครือ บี.กริม เพื่อนำเสนอโซลูชั่นให้กับลูกค้าได้อย่างครบถ้วน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ขยายธุรกิจระบบการส่งและระบบการจำหน่ายไฟฟ้าในภูมิภาค (Become a significant player in private transmission & distribution) เพื่อสนับสนุนการส่งและจำหน่ายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพไปสู่ผู้ใช้ โดยอาศัยความชำนาญกว่า 25 ปีของ บี.กริม เพาเวอร์ในการสร้างและควบคุมระบบการส่งและระบบการจำหน่ายไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม 9 แห่งทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และกัมพูชา นำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการเป็น Smart City ต่อไปในอนาคต

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ให้บริการพลังงานที่มีคุณภาพและเสถียรภาพผ่านการซื้อขายในระบบ energy trading (Maximize reliability and viability in energy trading) โดยเป็นการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับลูกค้าโดยตรง ไม่ผ่านระบบของการไฟฟ้า ซึ่งอาศัยโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่พัฒนาโดย บี.กริม เพาเวอร์ ปัจจุบัน ทางบริษัทได้นำร่องทดสอบระบบ trading ระหว่างอาคารต่างๆ ในเครือ บี.กริม และในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว

 

 

“ทิศทางธุรกิจพลังงานจากนี้ โรงไฟฟ้าจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ อนาคตคนจะมีโรงไฟฟ้าในบ้าน มีการติดแผงโซลาร์บนหลังคาผลิตไฟฟ้าขายเพื่อนบ้านแบบ Peer to Peer ที่แลกเปลี่ยนกันได้โดยตรง” ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว

 

ยุทธศาสตร์ที่ 7 เดินหน้าพัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับ “ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น” ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการขับเคลื่อนด้วยทีมงานคนรุ่นใหม่ (Champion global best practices in digital transformation)

 

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์ 7 ประการ จะควบคู่ไปกับจุดแข็ง 5 ข้อของ BGRIM คือ 1. ความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ 2. การเป็นพันธมิตรที่ดีและได้รับความไว้วางใจ 3. ความสามารถในการพัฒนาและบริหารโครงการ 4. การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และ 5. ความพร้อมทางด้าน “ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น” เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว ด้วยเป้าหมายก้าวสู่บริษัทผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก โดย บี.กริม เพาเวอร์ มีเป้าหมายก้าวสู่องค์กรที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Net-Zero Carbon Emissions ภายในปี ค.ศ. 2050 (ปี พ.ศ. 2593)

 

 

"เรามุ่งมั่นใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากที่สุด และหาวิธีผลิตไฟฟ้าที่ใช้ได้ตลอดวันในนิคมอุตสาหกรรม เราไปในต่างประเทศมากมาย เห็นโอกาส และมีหลายๆ โครงการที่กำลังดำเนินการ โดยครึ่งปีหลังนี้ จะเริ่มเห็นผล ปัจจุบันบี.กริม เพาเวอร์ มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวม 48 โครงการ โดยตั้งเป้ากำลังการผลิตเติบโตจาก 3,058 เมกะวัตต์ในปี 2563 เป็น 7,200 เมกะวัตต์ในปี 2568 และมุ่งสู่ 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 ด้วยมีเป้าหมายรายได้ต่อปีกว่า 100,000 ล้านบาท โดยผ่านโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง"

 

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ภายใต้หลักธรรมภิบาล ตลอดจนการบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) อย่างรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หนึ่งในโครงการที่ บี.กริม ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง คือ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง (Save the Tigers) ด้วยความร่วมมือกับ WWF เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรเสือในผืนป่า และปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่า นอกจากนี้ ยังมีโครงการเพื่อความยั่งยืนอื่นๆ อาทิ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อขยายพื้นที่ป่า, โครงการปลูกป่าชายเลน และโครงการ บวร บี.กริม เป็นต้น

 

นายนพเดช กรรณสูตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส-การเงินและบัญชี กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีการจัดเตรียมแผนเงินลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม ทั้งการศึกษาออกหุ้นกู้ หรือเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เพื่อรองรับการเติบโต รวมถึงการได้มาของกระแสเงินสดจากโครงการที่มีอยู่และโครงการที่อยู่ระหว่างการเข้าซื้อกิจการ หรือ M&A ทางเลือกอื่นๆ เช่น การออกพันธบัตร ซึ่งมีทางเลือกมากมายที่ใช้รองรับการเติบโตทางธุรกิจ โดยในช่วง 5 ปีนับจากนี้ ยังไม่มีแผนเพิ่มทุน ด้วยกระแสเงินสด และการเตรียมการรองรับจัดหาเงินที่เพียงพอ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตแข็งแกร่งและเหมาะสมต่อไป

 

สำหรับโอกาสในการทำ M&A ในปัจจุบันมีกว่า 3-4 โครงการ ทั้งในประเทศเป็นรูปแบบของก๊าซธรรมชาติ และในประเทศมาเลเซีย รูปแบบก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทน ช่วงครึ่งปีแรกมีดีลในรูปแบบ M&A ไปแล้วขั้นต่ำ 300-500 MW โดยใช้เงินลงทุนเพื่อซื้อกิจการในรูปแบบกรีนฟิลประมาณ 20,000-40,000 ล้านบาท ทั้งในส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และโครงการเตรียมเปิดดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ในไตรมาส 3 กังหันลม ที่จังหวัดมุกดาหาร ส่วนโครงการซื้อกิจการก็จะทำในช่วงครึ่งปีหลังเช่นกัน