• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home BKI ปฏิรูประบบประกันภัยหลักให้ทันสมัยรับไลฟ์สไตล์ลูกค้า
BKI ปฏิรูประบบประกันภัยหลักให้ทันสมัยรับไลฟ์สไตล์ลูกค้า

BKI ปฏิรูประบบประกันภัยหลักให้ทันสมัยรับไลฟ์สไตล์ลูกค้า

กรุงเทพประกันภัยผู้นำในธุรกิจประกันวินาศภัยของไทยตัดสินใจครั้งใหญ่ปรับเปลี่ยนระบบงานประกันภัยหลักทุกหน่วยงาน เสริมศักยภาพกระบวนการทำงานต่างๆ รองรับการเติบโตที่รวดเร็วของโลกธุรกิจในยุคดิจิทัล ถือเป็นก้าวสำคัญในการวางโครงสร้างทางธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนสู่ความเป็นองค์กรคุณภาพระดับมาตรฐานสากล โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการทำงานที่ยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ภายใต้การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ พร้อมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและได้รับประสิทธิผลสูงสุด

 

ล่าสุดบริษัทฯ ตัดสินใจพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบบงานประกันภัยหลักครั้งสำคัญ ภายใต้โครงการ Core Business System (CBS) โดยให้ความไว้วางใจบริษัท Sapiens International Corporation จากประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประกันภัยชั้นนำระดับโลกเข้ามาช่วยออกแบบและพัฒนาระบบงานหลักของบริษัทฯ ทดแทนระบบเดิม โดยที่ระบบดังกล่าวถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และออกแบบอย่างเป็นสากล ครอบคลุมการทำงานของหน่วยงานหลักของบริษัทฯ ทั้งกระบวนการรับประกันภัยจนถึงการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (End-to-end Solutions) ของกลุ่มลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจองค์กร ผ่านผลิตภัณฑ์ประกันภัยกว่า 90 แผน รวมถึงการรับประกันภัยต่อในกลุ่มธุรกิจประกันภัย

 

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าว จะช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยเสริมการทำงานในด้านการบริหารจัดการข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการประกันภัย รองรับการเติบโตของบริษัทฯ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้อย่างสูงสุด ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย โดยมีบริษัท PwC ประเทศไทย จำกัด เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการดำเนินงานร่วมกันในครั้งนี้