• Krungthai COMPASS เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 68 อยู่ที่ 0.84% คาดเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอลงระยะข้างหน้า ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้า ประเมินว่า ทิศทางเงินเฟ้อของไทยระยะข้างหน้ายังมีโมเมนตัมที่อ่อนแรงลง ปัจจัยหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งมีสัญญาณแผ่ว และทิศทางราคาพลังงานที่ลดลง โดยอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง สะท้อนจากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ในเดือน ก.พ. 68 ที่ปรับลดลงทั้งหมวดเครื่องจักร ยานพาหนะ และก่อสร้าง ส่งผลให้ดัชนีโดยรวมหดตัว 7.7%YoY
Home CIVIL รับงานกรมทางหลวง มูลค่า 899.35 ล. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ จ.ปทุมธานี
CIVIL รับงานกรมทางหลวง มูลค่า 899.35 ล. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ จ.ปทุมธานี

CIVIL รับงานกรมทางหลวง มูลค่า 899.35 ล. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ จ.ปทุมธานี

CIVIL เข้ารับงานก่อสร้างทางแนวใหม่ สายแยกทางหลวงหมายเลข 9 บริเวณบ้านบางเตย บรรจบทางหลวงหมายเลข 3214 บ้านพร้าว ตอน 3 ระยะทางประมาณ 1.300 กิโลเมตร สำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง จังหวัดปทุมธานี มูลค่างาน 899.35 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คาดรับรู้รายได้ช่วงไตรมาส 4/2567 เสริมความแข็งแกร่งการเชื่อมต่อของระบบขนส่งบนเส้นทางหลวงสายหลัก ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล

 

นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL ผู้นำบริษัทก่อสร้างครบวงจรชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า บริษัทเข้ารับงานจ้างเหมาโครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายแยกทางหลวงหมายเลข 9 บริเวณบ้านบางเตย บรรจบทางหลวงหมายเลข 3214 บ้านพร้าว ตอน 3 ระหว่างกิโลเมตรที่ 3+450.000 ถึง กิโลเมตรที่ 4+750.000 ระยะทางประมาณ 1.300 กิโลเมตร จังหวัดปทุมธานี มูลค่างาน 899,351,480 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยเป็นการลงนามสัญญาระหว่าง บริษัท ซีวิล คอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ จำกัด (บริษัทในเครือ) และ สำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง

 

ทั้งนี้ บริษัทได้ทำการลงนามสัญญาโครงการก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 โดยมีระยะเวลาดำเนินงานในระหว่างวันที่ 25 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 9 กันยายน 2570 รวมเวลาทั้งสิ้น 1,080 วัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4/2567 เป็นต้นไป

 

สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นการเชื่อมการคมนาคมขนส่งบนเส้นทางหลวงสายหลัก ตามแนวด้านตะวันออก-ด้านตะวันตก (East West Corridor) ของจังหวัดปทุมธานี และการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเขตพื้นที่เมืองหลักพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่รองรับการเดินทางระหว่างด้านตะวันตก และ ด้านตะวันออก ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้ใช้ถนนในบริเวณโครงการ