• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home CMIM Agreement เพิ่มช่วยเหลือทางการเงินภูมิภาคอาเซียน+3
CMIM Agreement เพิ่มช่วยเหลือทางการเงินภูมิภาคอาเซียน+3

CMIM Agreement เพิ่มช่วยเหลือทางการเงินภูมิภาคอาเซียน+3

การมีผลบังคับใช้ความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM Agreement) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

 

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ได้ลงนามในความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยความตกลงฉบับนี้ มีสาระสำคัญประกอบด้วย

 

1. การเพิ่มสัดส่วนเงินช่วยเหลือที่สมาชิกจะให้ความช่วยเหลือระหว่างกันโดยไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) จากเดิมร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 ของวงเงินความช่วยเหลือสูงสุดที่จะได้รับ

 

2. การยินยอมให้สามารถเลือกสมทบหรือขอรับความช่วยเหลือภายใต้กลไก CMIM เป็นเงินสกุลท้องถิ่นตามหลักความสมัครใจ และภายใต้วงเงินรวมคงเดิมที่ 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

3. การแก้ไขประเด็นทางเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการยกเลิกการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน (London Interbank Offered Rate: LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

โดยการแก้ไขความตกลงในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างให้ CMIM ซึ่งเป็นกลไกให้ความช่วยเหลือที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน+3 มีประสิทธิภาพและความพร้อมในการดำเนินการอันเป็นประโยชน์กับประเทศไทยและสมาชิกเพิ่มขึ้น