• ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2566 ลงจาก 3.2% เป็น 2.8% และปี 2567 จาก 3.6% เป็น 3.2% ตามลำดับ หลังแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศมีความเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะโมเมนตัมส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักอ่อนแอ เช่นเดียวกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่แผ่วลงกว่าคาด *** ด้าน SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 เหลือ 3.1% (เดิม 3.9%) จากข้อมูลจริงไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคาดมากและการส่งออกสินค้าที่หดตัวแรงต่อเนื่อง แต่ยังมีแรงหนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยฟื้นตัวดีตามประมาณการ 30 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางที่เร่งตัวและเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ ส่งผลให้ภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่องช่วยลดความเปราะบางในตลาดแรงงาน สำหรับมุมมองปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเร่งขึ้นที่ 3.5% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 37.7 ล้านคน
Home CWT ดันบ.ย่อย 'กรีน เพาเวอร์ 1'ส่งมอบโรงคัดแยกขยะ นครนครสวรรค์
CWT ดันบ.ย่อย 'กรีน เพาเวอร์ 1'ส่งมอบโรงคัดแยกขยะ นครนครสวรรค์

CWT ดันบ.ย่อย 'กรีน เพาเวอร์ 1'ส่งมอบโรงคัดแยกขยะ นครนครสวรรค์

บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป หรือ CWT เดินหน้าดันบริษัทย่อย "กรีน เพาเวอร์ 1" หรือ "GP1" ส่งมอบโรงคัดแยกและกำจัดขยะชุมชนให้แก่ เทศบาลนครนครสวรรค์ เรียบร้อยแล้ว คาดเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/2566 เป็นต้นไป ด้านผู้บริหาร "วีระพล ไชยธีรัตต์" ประเมินกวาดรายได้ตลอดอายุสัญญา 25 ปี รวมมูลค่าประมาณ 590.55 ล้านบาท พร้อมลุยต่อยอดสร้างโรงผลิตกระแสไฟจากเชื้อเพลิง RDF 10.0 MW เพื่อกำจัดขยะให้หมดไป สนับสนุนให้เกิดพลังงานทดแทน สร้างประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน

นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CWT) เปิดเผยว่า บริษัท กรีน เพาเวอร์ 1 จำกัด (GP1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ส่งมอบงานโครงการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน รวมถึงขยะบ่อฝังกลบให้แก่ เทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มดำเนินการและสามารถรับกำจัดมูลฝอยชุมชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

"โครงการดังกล่าวเป็นสัญญาให้สิทธิเอกชนดำเนินโครงการบริหารจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนรวมถึงขยะบ่อฝังกลบของเทศบาลนครนครสวรรค์ สัญญาระยะยาว 25 ปี ซึ่งทาง GP1 เริ่มเข้าพัฒนาพื้นที่ในปีที่ผ่านมา และก่อสร้างโรงแปลงขยะพร้อมส่งมอบในเดือนกันยายนปีนี้ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับขยะชุมชนได้ถึงวันละ 400 ตันโดยเฉลี่ย และทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/2566 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ คาดการณ์มูลค่ารายได้ค่าเฉลี่ยค่ากำจัดขยะมูลฝอย (Tipping Fee) รวมตลอดสัญญาประมาณ 590.55 ล้านบาท" นายวีระพล กล่าว

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีแผนคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อแปลงเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน RDF (Refuse Derived Fuel) เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมจากโครงการ โดยจะพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 10.0 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทฯ สามารถดำเนินงานบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการแก้ปัญหาขยะในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

อนึ่ง กลุ่มบริษัทฯ ได้รับคัดเลือกโครงการดำเนินการก่อสร้างระบบการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ และล่าสุดได้รับคัดเลือกดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาอีกหลายแห่ง