• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home FPI ปีเสือทองลุยประมูลงานใหม่หนุน Backlog พุ่งแตะ 1,000 ล.
FPI ปีเสือทองลุยประมูลงานใหม่หนุน Backlog พุ่งแตะ 1,000 ล.

FPI ปีเสือทองลุยประมูลงานใหม่หนุน Backlog พุ่งแตะ 1,000 ล.

บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) กางแผนปีเสือทองโตแรงทุกมิติ ผลจากอุตสาหกรรมส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์แนวโน้มดีต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทย่อยในอินเดียฟื้นตัวคึกคัก ออเดอร์ไหลเข้าเท่าตัว เอ็มดี " นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์"ระบุตั้งเป้าปี65 รายได้เติบโต 10% ยังคงทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เน้นกลยุทธ์สร้างมาร์จิ้นเพิ่ม เตรียมยื่นประมูลงานใหม่อีก 300-400 ล้านบาท หวังได้งาน 50% หนุน Backlog มีโอกาสทะลุ 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบัน 800 ล้านบาท ผลักดันอนาคตสดใส

 

นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด(มหาชน)หรือ FPI เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 2565 มีแนวโน้มที่สดใส เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมการส่งออกฟื้นตัวแรง ขณะที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ในปี 2564 เติบโตได้มากถึง 26% และ ยังคงมีสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง ขณะที่บริษัท FPI AUTO PART INDIA PRIVATE LIMITED ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในประเทศอินเดีย ดำเนินธุรกิจออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, บริการรับออกแบบผลิตภัณฑ์และผลิตแม่พิมพ์พลาสติก, รับจ้างฉีด, ชุบโครเมียม, พ่นสี, ประกอบ ชิ้นงานทุกประเภท ปัจจุบันมีการฟื้นตัวอย่างคึกคัก โดยมีออเดอร์เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อน ซึ่งมีมูลค่างานในมืออยู่แล้วกว่า 700 ล้านรูปี

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ มียอดคำสั่งซื้อในมือ (Backlog) ทั้งงานในประเทศ และต่างประเทศ มูลค่ารวมกว่า 800 ล้านบาท โดยทยอยรับรู้ในปีนี้ประมาณ 500 ล้านบาท และที่เหลือจะรับรู้ในปีถัดไป ขณะเดียวกันมีแผนเตรียมยื่นประมูลงานใหม่เพิ่มเติมอีก 300-400 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประมูลได้ประมาณ 50% ดังนั้น มีโอกาสที่จะสนับสนุนให้งานในมือปีนี้เพิ่มขึ้นแตะระดับ 1,000 ล้านบาท

 

"ในปี 2565 บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 10% จากปีก่อน และยังคงสามารถรักษาผลงานให้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านวัตถุดิบ และค่าขนส่ง เน้นผลิตสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างมั่นคง สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น"นายสมพลกล่าว

 

กรรมการผู้จัดการกล่าวต่อว่า สำหรับการลงทุนในธุรกิจใหม่ ปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจบริการให้เช่าแม่พิมพ์มีแนวโน้มเติบโตได้ดี หลังจากที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้หันมาให้ความสนใจธุรกิจที่เชื่อมโยงกับระบบขนส่งโลจิสติกส์มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ค่าบริการขนส่ง โดยเฉพาะทางเรือ มีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารต้นทุนการขนส่งสินค้า โดยมองว่าระบบการขนส่งสินค้าเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์อยู่แล้ว ดังนั้นบริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาหาช่องทางในการเข้าไปลงทุน เพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้และกำไรในอนาคต