• Krungthai COMPASS มองว่าการติดลบของเงินเฟ้อครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ยังไม่ใช่การเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากระดับราคาสินค้าและบริการยังปรับลดลงไม่กระจายวงกว้าง (Broad-based) และปัจจัยของการปรับลดลงมาจากฝั่งราคาพลังงานซึ่งต่ำกว่าปีก่อน3 โดยเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเป็นบวก อนึ่งยังต้องติดตามผลจากการทะลักของสินค้าจีนที่เข้ามารุกตลาดไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงด้านต่ำต่ออัตราเงินเฟ้อของไทย ทั้งนี้ Krungthai COMPASS คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ 0.7% จากผลของฐานราคาพลังงานเป็นสำคัญ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่แผ่วลงและผลของสงครามการค้าที่มีความไม่แน่นอนสูง
Home KTAM แนะนำลงทุนกองตราสารหนี้ KTSTPLUS และ KTFIXPLUS โอกาสจากระดับดอกเบี้ยสูงขึ้น
KTAM แนะนำลงทุนกองตราสารหนี้ KTSTPLUS และ KTFIXPLUS โอกาสจากระดับดอกเบี้ยสูงขึ้น

KTAM แนะนำลงทุนกองตราสารหนี้ KTSTPLUS และ KTFIXPLUS โอกาสจากระดับดอกเบี้ยสูงขึ้น

KTAM แนะนำลงทุนกองตราสารหนี้ KTSTPLUS และ KTFIXPLUS มองเห็นโอกาสจากระดับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในรอบหลายปี

 

KTAM มองตราสารหนี้มีความน่าสนใจจากระดับดอกเบี้ย (Running Yield) ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในรอบหลายปี และมีโอกาสจะทำกำไรจากส่วนต่างราคาหากดอกเบี้ยเข้าสู่วงจรขาลงอย่างแท้จริง จึงได้แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส (KTSTPLUS) และกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (KTFIXPLUS) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอกาสสร้างผลตอบแทนจากตราสารหนี้ระยะสั้นจากทั้งในและต่างประเทศ.

 

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางดอกเบี้ยโลกและไทยเข้าสู่ระดับสูงสุดแล้วในปี 2023 ที่ผ่านมา โดยแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าในปี 2024 วงจรดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ขาลง นำโดยประเทศเศรษฐกิจสำคัญเช่น สหรัฐฯ และกลุ่มประชาคมยุโรป ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจต้องทบทวนนโยบายดอกเบี้ยในทิศทางที่ผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากเงินเฟ้อชะลอตัวลงมากและแรงกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลง โดยปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้กลับมามีความน่าสนใจจากระดับดอกเบี้ย (Running Yield) ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในรอบหลายปี และมีโอกาสจะทำกำไรจากส่วนต่างราคาหากดอกเบี้ยเข้าสู่วงจรขาลงอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าตลาดอาจจะเผชิญกับความผันผวนเป็นช่วงๆ จากปัจจัยต่างๆ อาทิ สภาพคล่องของระบบการเงินโลกยังอยู่ในแนวโน้มลดลงจากมาตรการลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening) และความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงและต้นทุนการเงินสูงเป็นเวลานาน รวมถึง Event Risk ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการเลือกตั้งในหลายประเทศ เป็นต้น

 

สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส (KTSTPLUS) (ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4) มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงินซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ โดยเฉลี่ยอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี  โดยในเดือนมกราคม 2567 กองทุนมี duration port อยู่ที่ 0.50 – 0.70 ปี กระจายลงทุนในพันธบัตรภาครัฐไทยและเงินฝากในประเทศอยู่ที่ประมาณ 35-45%, เงินฝากและตราสารต่างประเทศประมาณ 5-10% และตราสารเอกชนในประเทศอยู่ที่ประมาณ 50-60% โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉลี่ยอยู่ที่  A ทั้งนี้ กองทุนมุ่งเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่มากกว่าเงินฝาก เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าในระยะ 3 เดือน – 1 ปี ดังนั้นกองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

 

ส่วน กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (KTFIXPLUS) (ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4) มีนโยบายเน้นในตราสารหนี้ทั้งใน และต่างประเทศ โดยกองทุนอาจพิจารณานำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน โดยในเดือนมกราคม 2567 กองทุนมี duration port อยู่ที่ 2 – 3 ปี กระจายลงทุนในพันธบัตรภาครัฐไทยและเงินฝากในประเทศ ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉลี่ยอยู่ที่  A ทั้งนี้ กองทุนมุ่งเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอจากตลาดตราสารหนี้ในระยะปานกลางถึงระยะยาว จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กองทุน อาจมีความผันผวนของ NAV ที่มากกว่าในระยะสั้น

 

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn

 

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาตราสาร ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ

 

คำเตือน กองทุน KTSTPLUS มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับงินคืนต่ำกว่างินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า งื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน