• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home PRM เริ่มรับรู้รายได้บริการเรือ VLCC มั่นใจทั้งปีขยายตัวได้ตามแผน
PRM เริ่มรับรู้รายได้บริการเรือ VLCC มั่นใจทั้งปีขยายตัวได้ตามแผน

PRM เริ่มรับรู้รายได้บริการเรือ VLCC มั่นใจทั้งปีขยายตัวได้ตามแผน

‘บมจ. พริมา มารีน’ หรือ (PRM) ประเมินผลงานครึ่งปีแรกเน้นเรื่องปรับพอร์ตธุรกิจรวดเร็วทันสถานการณ์ สะท้อนขีดความสามารถการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง สามารถปรับตัวได้ทุกสภาวะตลาด จากการที่มีเรือหลากหลายประเภทในกองเรือ แถมรับปัจจัยบวกจากการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับกลุ่มไทยออยล์ หลังเริ่มรับรู้รายได้จากการให้บริการเรือ VLCC แล้ว มั่นใจทั้งปีขยายตัวได้ตามแผน

 

นายวิริทธิ์พล จุไรสินธุ์ ผู้อำนวยการสายงานการเงินและบัญชี บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) (“PRM”) ผู้ให้บริการขนส่งและจัดเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีเหลวทางเรือรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เปิดเผยว่า แม้ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทฯ ต้องเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ด้วยทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญการดำเนินธุรกิจที่มีมาอย่างยาวนาน รวมถึงกองเรือที่มีความหลากหลาย ทำให้ PRM วางแผนบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ได้ทันเวลา

 

ทั้งนี้ จากการประเมินผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ในเบื้องต้นคาดว่ารายได้รวมจะเข้าเป้าตามแผนที่วางไว้ ซึ่งมาจากจุดแข็งของ PRM ที่มีพอร์ตกองเรือที่มีความหลากหลายของประเภทเรือ จึงสามารถบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจเรือขนส่งภายในประเทศ ที่บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการรักษาอัตราการใช้เรือให้อยู่ในระดับสูงเพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่าย Idle Cost ขณะเรือจอด

 

ขณะเดียวกัน PRM ยังรับรู้รายได้จากกลุ่มธุรกิจเรือขนส่งระหว่างประเทศที่ให้บริการเรือขนส่งขนาดใหญ่ (VLCC) ขนาดบรรทุกมากกว่า 300,000 DWT ที่เริ่มให้บริการแก่กลุ่มไทยออยล์ ซึ่งเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ PRM ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลดีต่อการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกอีกด้วย ในขณะที่ครึ่งปีหลัง ยังมองว่ากลุ่มธุรกิจเรือ Offshore Support จะปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์ของธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่มีกิจกรรมมากขึ้น

 

“แม้ครึ่งปีแรกจะมีความผันผวนและความไม่นอนสูง จากปัจจัยการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ด้วยการบริหารจัดการที่ดีซึ่งเกิดจากทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจึงสามารถรับมือความเสี่ยงได้ดี โดยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดอย่างทันท่วงที เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลการดำเนินงานจะเติบโตตามแผนงานที่วางไว้” นายวิริทธิ์พล กล่าว