• ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย ปี 2565 บริษัทจดทะเบียน หรือ บจ. จำนวน 798 บริษัท คิดเป็น 98.6% จากทั้งหมด 809 บริษัท (รวม SET และ mai และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บจ. ในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC) นำส่งผลการดำเนินงานงวดปี 2565 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 619 บริษัท คิดเป็น 77.6% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด *** ส่วนบริษัทจดทะเบียนใน mai จำนวน 196 บริษัท คิดเป็น 96% จากทั้งหมด 204 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่ปิดงบไม่ตรงงวด) นำส่งผลการดำเนินงาน โดยปี 2565 พบ บจ. ที่รายงานกำไรสุทธิจำนวน 144 บริษัท คิดเป็น 73% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด
Home SME D Bank รับรางวัลองค์กรเป็นเลิศ ‘SMART BUSINESS GROWTH AWARD’
SME D Bank รับรางวัลองค์กรเป็นเลิศ ‘SMART BUSINESS GROWTH AWARD’

SME D Bank รับรางวัลองค์กรเป็นเลิศ ‘SMART BUSINESS GROWTH AWARD’

ตอกย้ำบทบาท “ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย” สนับสนุน SMEs เติบโตยั่งยืน

 


นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  มอบหมาย นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ เป็นตัวแทนรับมอบรางวัล “THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2023” ความเป็นเลิศประเภท “SMART BUSINESS GROWTH AWARD” จัดโดย นิตยสาร Business+ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีและมอบรางวัล ณ ห้องบอลรูม โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.66 ที่ผ่านมา

 รางวัลดังกล่าว มอบให้แก่องค์กรที่มีการเติบโตอย่างชาญฉลาด ด้วยแผนงานและกลยุทธ์ที่พร้อมไปสู่ความยั่งยืน ซึ่ง SME D Bank มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ด้วยผลงานการดำเนินงานในฐานะ “ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย” ที่ชัดแจ้งโดดเด่นจากความมุ่งมั่นและทุ่มเท สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเติบโตยั่งยืน ผ่านกระบวนการ “เติมทุนคู่พัฒนา” พาเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่กับการยกระดับด้านบริหารจัดการ นำเทคโนโลยีมาเสริมประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้ง  เป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของไทยที่สามารถระดมทุนในรูปแบบ “ผลิตภัณฑ์เงินฝาก ESG” ได้สำเร็จ นำไปปล่อยสินเชื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยยกระดับสู่  BCG Model สร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม   ควบคู่กับมีกระบวนการพัฒนา เชื่อมโยงร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดอบรม สัมมนา เติมความรู้ ทั้งออนไซต์และออนไลน์

ด้วยแนวทางดังกล่าว ส่งผลให้ปี 2565 ที่ผ่านมา SME D Bank สร้างสถิติใหม่พาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนสูงสุดนับแต่ก่อตั้งองค์กรมา 21 ปี มูลค่ากว่า 68,800 ล้านบาท  ช่วยสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 315,140 ล้านบาท รักษาการจ้างงานกว่า 226,450 ราย และสร้างประโยชน์จากการพัฒนากว่า 21,860 ราย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด-19  (2563-2565)  SME D Bank สร้างสถิติใหม่เติมทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสูงสุดต่อเนื่อง วงเงินรวมมากกว่า 160,000 ล้านบาท  สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 735,000 ล้านบาท รักษาการจ้างงานได้กว่า 629,000 ราย เหล่านี้ สะท้อนบทบาทของ SME D Bank ในฐานะธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน