• ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย ปี 2565 บริษัทจดทะเบียน หรือ บจ. จำนวน 798 บริษัท คิดเป็น 98.6% จากทั้งหมด 809 บริษัท (รวม SET และ mai และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บจ. ในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC) นำส่งผลการดำเนินงานงวดปี 2565 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 619 บริษัท คิดเป็น 77.6% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด *** ส่วนบริษัทจดทะเบียนใน mai จำนวน 196 บริษัท คิดเป็น 96% จากทั้งหมด 204 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่ปิดงบไม่ตรงงวด) นำส่งผลการดำเนินงาน โดยปี 2565 พบ บจ. ที่รายงานกำไรสุทธิจำนวน 144 บริษัท คิดเป็น 73% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด
Home SME D Bank – ศศินทร์ เผยผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่น SMEs Q1 ชะลอตัวลง
SME D Bank – ศศินทร์ เผยผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่น SMEs Q1 ชะลอตัวลง

SME D Bank – ศศินทร์ เผยผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่น SMEs Q1 ชะลอตัวลง

SME D Bank – ศศินทร์ เผยผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่น SMEs Q1/66 ชะลอตัวลง กังวลค่าพลังงานสูง ดันต้นทุนธุรกิจเพิ่ม เชียร์เอสเอ็มอียกระดับด้วย BCG Model

SME D Bank จับมือ ศศินทร์ เผยผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่น SMEs ประจำไตรมาส 1/2566 ชะลอตัวลงเล็กน้อย เหตุกังวลต้นทุนด้านพลังงานผันผวน กระทบต้นทุนธุรกิจเพิ่ม แต่ภาพรวมเชื่อมั่นยังคงอยู่ในระดับสูง จากแรงส่งภาคท่องเที่ยวคึกคัก ระบุอยากให้รัฐคุมราคาพลังงาน ช่วยสนับสนุนติดตั้งพลังงานทางเลือก ด้าน SME D Bank พร้อมเติมความรู้คู่ทุน หนุนเอสเอ็มอียกระดับธุรกิจด้วย BCG Model  

 


ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank    โดย “ศูนย์วิจัยและข้อมูล ธพว.” และ  “ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา” สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึง “ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs ต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ ไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์อนาคต  จากการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs จำนวนกว่า 500 ตัวอย่างทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกประเภทอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ในไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ระดับ 65.09 ชะลอตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/2565  ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับ 65.66 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้ประกอบการ SMEs ในด้านต้นทุนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง 

อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs  ในภาพรวมยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยวภายในประเทศที่เติบโตต่อเนื่อง และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนโยบายจีนเปิดประเทศ รวมถึงประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ สนับสนุนการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีนขยายตัว ส่งผลให้ธุรกิจรายย่อยมีรายได้เพิ่มขึ้น

ส่วนแนวโน้มความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า SMEs ยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ อยู่ที่ระดับ 66.76 เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ที่อยู่ระดับ 66.46 เพราะได้รับอานิสงส์จำนวนคำสั่งซื้อและการให้บริการที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ สนับสนุนผลประกอบการของธุรกิจ SMEs มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และความกังวลด้านต้นทุนลดลง 

เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ แยกตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs ภาคก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นสูงกว่าธุรกิจอื่น สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์แนวราบ และนโยบายการก่อสร้างของภาครัฐ ขณะที่ผู้ประกอบการภาคการผลิตและการค้าปรับตัวลดลง เนื่องจากภาระต้นทุนยังคงทรงตัวในระดับสูง และกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มคงที่ 

ทั้งนี้ จากความกังวลต่อต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการ SMEs 91.22% ต้องการให้ภาครัฐควบคุมราคาพลังงาน รองลงมา 52.50% ต้องการสนับสนุนการติดตั้งพลังงานทางเลือก เพื่อลดค่าไฟฟ้า ขณะที่ 48.30% ต้องการให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเป็นพิเศษเพื่อลดภาระภาษี และ 30.74% ต้องการให้ลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม

ด้าน นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวสรุปว่า จากผลสำรวจดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในอนาคต ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ความกังวลด้านต้นทุนยังคงสูง ในการนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาวด้านการบริหารจัดการต้นทุน SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนด้านการพัฒนา ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการลดต้นทุน โดยเฉพาะผลักดันให้นำแนวทาง BCG Model มาใช้ในธุรกิจ  ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และลดต้นทุนพลังงาน  ควบคู่กับช่วยเติมทุนผ่านสินเชื่อ “BCG Loan”  วงเงินกู้สูงถึง 50 ล้านบาท   สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรหรือลงทุนเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ช่วยลดต้นทุน  ยกระดับธุรกิจ เพิ่มศักยกิจการเติบโตสู่ความยั่งยืน