• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home SME D Bank ขานรับนโยบาย ก.อุตฯ เดินหน้าเติมทุนดอกเบี้ยถูก 1%ต่อปี
SME D Bank ขานรับนโยบาย ก.อุตฯ เดินหน้าเติมทุนดอกเบี้ยถูก 1%ต่อปี

SME D Bank ขานรับนโยบาย ก.อุตฯ เดินหน้าเติมทุนดอกเบี้ยถูก 1%ต่อปี

เสิร์ฟสินเชื่อ “เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย” ยกระดับข้ามผ่านโควิด

 

SME D Bank ขานรับนโยบายรัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าหน่วยร่วมเติมทุนโครงการสินเชื่อ “เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย” วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เปิดโอกาสนิติบุคคลที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ 1% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อนนาน 7 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่อง ยกระดับธุรกิจ ก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 สู่ธุรกิจยุค New Normal

 

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีมติอนุมัติโครงการสินเชื่อ “เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย” ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท สนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ โดยมี SME D Bank เป็นหน่วยร่วมทำหน้าที่ดำเนินการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ของกองทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่าย หรือลงทุน ขยาย ปรับปรุง กิจการ ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยี สนับสนุนการเติบโตสู่ยุค New Normal

 

 

สำหรับสินเชื่อดังกล่าว คิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ระยะเวลากู้นานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนิติบุคคลที่เป็นผู้ผลิต ให้บริการ ค้าปลีกค้าส่ง หรือผู้ใช้ในธุรกิจ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า, 2. กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, 3. กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์, 4. กลุ่มธุรกิจผู้ผลิต/ผู้ใช้หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI), 5. กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว หรือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และ 6. กลุ่มธุรกิจ Tech Startup รวมถึง ธุรกิจอื่นๆ ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (กอป.) กำหนด

 

ทั้งนี้ คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ แบ่งเป็น การผลิตสินค้าหรือการให้บริการ ต้องจ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 200 ล้านบาท ส่วนการค้าปลีกหรือการค้าส่ง ต้องจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท ต้องมีระบบบัญชีเดียว หรือแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว มีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 12 งวด โดยผู้ขออนุมัติสินเชื่อไม่เป็นหนี้ NPLs ไม่ถูกดำเนินคดี และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ณ วันที่ยื่นใบคำขอเข้าร่วม

 

อีกทั้ง ผู้ขอสินเชื่อต้องไม่อยู่ระหว่างได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย, กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 10,000 ล้านบาท, โครงการฟื้นฟูฯ สำหรับ SMEs คนตัวเล็ก วงเงิน 8,000 ล้านบาท และโครงการสินเชื่อ SME โตไว ไทยยั่งยืน วงเงิน 3,000 ล้านบาท

 

ผู้สนใจสินเชื่อเสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย สามารถแจ้งความประสงค์ยื่นกู้ได้ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.thaismefund.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โทร.02-202-3879 และ Call Center ของ SME D Bank โทร.1357

 

“รัฐบาลให้ความสำคัญของการส่งเสริมเอสเอ็มอียกระดับปรับธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยียุคใหม่ จึงได้อนุมัติสินเชื่อเสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยมี SME D Bank เป็นหน่วยร่วมดำเนินการพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นอีกกลไกสำคัญช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในต่างประเทศและต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้สามารถฟื้นตัว และเข้มแข็งได้ในเร็ววัน” นางสาวนารถนารี กล่าว