• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home TCMA เผยโรดแมปนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย Net Zero 2050
TCMA เผยโรดแมปนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย Net Zero 2050

TCMA เผยโรดแมปนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย Net Zero 2050

ผนึก GCCA องค์กรซีเมนต์และคอนกรีตระดับโลก ร่วมเวที COP 27

 

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ประกาศ Thai Cement & Concrete Roadmap to Net Zero 2050 นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยก้าวสู่ระดับโลก ร่วมกับ GCCA องค์กรชั้นนำระดับโลกด้านซีเมนต์และคอนกรีต พร้อมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวที COP 27 ปลายปีนี้ ที่อียิปต์ ตั้งเป้าหมายลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050 พร้อมต่อยอดกลยุทธ์ เทคโนโลยี และผสานความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งไทยและต่างประเทศ ล่าสุดจัดกิจกรรม “ร่วมลดโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก ด้วยปูนซีเมนต์ ไฮดรอลิก” ในงาน FTI EXPO 2022 ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและ แสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

 

นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยถึงเป้าหมายและแผนดำเนินงานของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่มุ่งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ในปี 2050 Thai Cement & Concrete Roadmap to Net Zero 2050 ภายใต้แนวทาง Collaborative towards Net Zero 2050 โดย 1) ทำงานร่วมกับสมาชิก TCMA ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทุกรายของไทย ในการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เพื่อร่วมเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ 2) ผนึกการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Global Cement and Concrete Association (GCCA) องค์กรชั้นนำระดับโลกด้านซีเมนต์และคอนกรีต เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยในทิศทางเดียวกับระดับโลก

 

 

"TCMA มีเป้าหมายนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยสู่ Net Zero ในปี 2050 โดยการเห็นพ้องของสมาชิก TCMA ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทุกรายของไทย จึงเป็นอุตสาหกรรมแรกของไทยที่มีการจัดทำโรดแมปลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีว่า Thai Cement & Concrete Roadmap to Net Zero 2050 ที่ TCMA จัดทำร่วมกับสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย ได้รับการตอบรับและสนับสนุนเป็นอย่างดีจากที่ประชุม GCCA CEO Gathering ที่เมืองแอดแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยเป็นประเทศแรกที่มีความก้าวหน้าดำเนินงานสอดคล้องกับแนวทางในระดับโลก TCMA พร้อมดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการสนับสนุนของ GCCA ขับเคลื่อน Thailand Chapter สู่การประชุม COP 27 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศอียิปต์ ต่อไป” นายชนะ กล่าว

 

"สำหรับความร่วมมือในประเทศ หลังจากประสบความสำเร็จแรกเมื่อสิ้นปี 2021 ลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการทดแทนปูนเม็ด ได้กว่า 300,000 ตัน CO2 (เทียบเท่าปลูกต้นไม้กว่า 39 ล้านต้น) ขณะนี้ TCMA ร่วมกับ 25 ภาคีร่วมดำเนินการ โดยการสนับสนุนของ 6 กระทรวง กำลังเดินหน้าสู่เป้าหมายใหม่ ภายใต้ ‘MISSION 2023’ ลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้อีกอย่างน้อย 1,000,000 ตัน CO2 ในปี 2023 (เทียบเท่าปลูกต้นไม้กว่า 122 ล้านต้น) ด้วยการนำปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) เข้าสู่การใช้งานแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ต้นปี 2024 ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างทั้งหมดของไทย จะเป็นปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) โดยทุกๆ ตันที่ใช้ปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) จะเป็นการลดการปล่อย CO2 จากกระบวนการผลิตซึ่งก็หมายถึงช่วยลดก๊าซเรือนกระจก นั่นเอง” นายชนะ กล่าว

 

 

ล่าสุด TCMA เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน FTI EXPO 2022 จัดกิจกรรม “ร่วมลดโลกร้อน รวมพลังเพื่อโลกของเรา” ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00-20.00 น. ณ บูธ A 201 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมทำความรู้จักปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร เหมืองปูนซีเมนต์ เหมืองแร่สีเขียวประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและชุมชน เตาเผาปูนซีเมนต์ช่วยลด PM ลดโลกร้อน ชมนิทรรศการและพบปะพูดคุยกับผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทย ทั้งปูนเอสซีจี ปูนอินทรี ปูนทีพีไอ ปูนดอกบัว ปูนราชสีห์ ที่มาร่วมกันสร้างสรรค์ความเข้าใจการลดโลกร้อน

 

รวมทั้ง ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติบรรยายพิเศษ ‘การบูรณาการความร่วมมือสู่ Thailand Net Zero’ พร้อมพบกูรูไขความกระจ่าง และเปิดประสบการณ์ใช้งาน “ร่วมลดโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก ด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ในวันที่ 29 มิถุนายน เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องเอื้องหลวง หรือรับชมผ่าน YOUTUBE Thai Cement Manufactures Association