• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home TEAMG” จับมือ 5 พันธมิตร คว้าโครงการ ”Land Bridge”เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย-EEC
TEAMG” จับมือ 5 พันธมิตร คว้าโครงการ ”Land Bridge”เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย-EEC

TEAMG” จับมือ 5 พันธมิตร คว้าโครงการ ”Land Bridge”เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย-EEC

TEAMG” จับมือ 5 พันธมิตร คว้าโครงการ ”Land Bridge” เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย-EEC ปลุกระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

 

ดร.อภิชาติ สระมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAMG เปิดเผยว่า บริษัทฯเป็นที่ปรึกษาหลัก ร่วมกับพันธมิตร ประกอบด้วย บจก.ดีเคด คอนซัลแตนท์ บจก.พีเอสเค คอนซัลแทนส์ บมจ. อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป บจก.ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ และ บจก.ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ ได้ลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษา “โครงการความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์)” กับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564

 

โครงการนี้จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ทั้งโครงการ วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐบาล ทั้งการสร้างท่าเรือน้ำลึกระนองและท่าเรือชุมพรแห่งใหม่ พัฒนาแลนด์บริดจ์เชื่อมท่าเรือชุมพรและระนอง โดยสร้างมอเตอร์เวย์ขนานไปกับรถไฟทางคู่สายใหม่ และรถไฟทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ซึ่งตามแผนจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566-2570 เพื่อพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์และพัฒนาเมืองในภาคใต้ ให้ต่อเชื่อมกับการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก ที่กำลังเดินหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาเกือบ 70 ล้านบาท

 

โดยบริษัทที่ปรึกษา มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2566 ซึ่งภายในต้นปี 2565 การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นจะแล้วเสร็จ พร้อมเตรียมกำหนดกรอบวงเงินลงทุน ก่อนจะดำเนินการจัดเตรียมเอกสารทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม( EIA) และเอกสารเสนอรูปแบบการลงทุนร่วมกับเอกชน (PPP) เป็นลำดับต่อไป

 

“บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินการโครงการ ที่นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ช่วยขยายขีดความสามารถการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ สามารถเชื่อมประเทศไทย อาเซียน จีน อินเดีย ตลอดจนเชื่อมโยงประเทศกลุ่มประเทศตะวันออกไกล เข้ากับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และสภาพยุโรป ให้สะดวกยิ่งขึ้น” ดร.อภิชาติกล่าว