• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home TGE ได้รับรองคาร์บอนเครดิตโรงไฟฟ้าชีวมวลหนุนรายได้โตยั่งยืน
TGE ได้รับรองคาร์บอนเครดิตโรงไฟฟ้าชีวมวลหนุนรายได้โตยั่งยืน

TGE ได้รับรองคาร์บอนเครดิตโรงไฟฟ้าชีวมวลหนุนรายได้โตยั่งยืน

‘บมจ.ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่’ หรือ TGE ตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำด้าน Green Energy นำโรงไฟฟ้าชีวมวล ท่าฉาง พาวเวอร์ กรีน ขนาด 9.9 เมกะวัตต์ เข้าร่วมโครงการ T-VER ขึ้นทะเบียนและได้รับรองคาร์บอนเครดิต จำนวน 33,964 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สร้างแหล่งรายได้ใหม่ที่เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมร่วมเป็นสมาชิกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) และเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN)

 

ดร.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TGE เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยึดมั่นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชน และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้นำโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ท่าฉาง พาวเวอร์ กรีน(TPG) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ (MW) ขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VERด้วยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง (คาร์บอนเครดิต) จำนวน 33,964 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) สำหรับระยะเวลารับรองเครดิตของโครงการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565 (ปีแรก) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) หรือ TGO โดยมีระยะเวลาโครงการรวมส่วนขยาย 14 ปี ซึ่งทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในระยะยาวตลอดอายุโครงการ และทำให้บริษัทได้รับผลประโยชน์ด้านคาร์บอนเครดิตอย่างเต็มที่อีกด้วย

 

นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเตรียมการขอขึ้นทะเบียนและรับรองคาร์บอนเครดิตของโรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัท ท่าฉาง ไบโอ พาวเวอร์ จำกัด (TBP) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการเตรียมการขอการรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) ของโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัท ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ (TGE) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า โดยโครงการต่างๆ เหล่านี้ นอกจากจะเป็นการสร้างแหล่งรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนเพิ่มเติมให้แก่บริษัทในอนาคตได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับชาติของประเทศไทย

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ สามารถนำ “คาร์บอนเครดิต” ดังกล่าวไปสร้างรายได้ผ่าน Carbon Markets Club หรือ ผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย หรือซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ขายโดยตรง ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการขายคาร์บอนเครดิตของตนโดยไม่ผ่านตลาด ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้และกำไรของบริษัทฯ ที่แน่นอนและมั่นคงในระยะยาว ขณะเดียวกันตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ยังเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตอีกมากในอนาคต เนื่องจากเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ช่วยให้ประเทศและภาคธุรกิจมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งส่งเสริมแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG

 

นอกจากนี้ TGE ได้เข้าร่วม “เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network : TCNN)” เพื่อร่วมผลักดันให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใต้แนวทางการดำเนินงานขององค์กรที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้ร่วมเป็นสมาชิก “สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100)” เพื่อผสานพลังขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Thailand’s Carbon Net Zero) พร้อมยกระดับความสามารถของอุตสาหกรรมไทยเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยใช้พลังงานสะอาดเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง