• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home TK จัดตั้งบริษัทใหม่ 'TK Broker' เดินหน้าธุรกิจประกันฯ ตามแผน
TK จัดตั้งบริษัทใหม่ 'TK Broker' เดินหน้าธุรกิจประกันฯ ตามแผน

TK จัดตั้งบริษัทใหม่ 'TK Broker' เดินหน้าธุรกิจประกันฯ ตามแผน

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย เปิดเผยความคืบหน้าเกี่ยวกับการขยายธุรกิจ ในกิจกรรม Opportunity Day บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน ล่าสุดได้จัดตั้ง บริษัท ทีเค โบรคเกอร์ จำกัด หรือ TK Broker ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจการเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย ตามแผนการขยายธุรกิจในประเทศของบริษัทฯ ด้านการขยายกิจการในต่างประเทศตามแผนการเพิ่มสัดส่วนลูกหนี้ในตลาดต่างประเทศและลูกหนี้ในประเทศเป็น 50:50 ภายในปี 2565 TK ได้เตรียมสภาพคล่อง ถือเงินสดและเงินฝากธนาคารรวม 2,335 ล้านบาทรอ และพร้อมลุยเร่งขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศทันทีที่สถานการณ์ต่าง ๆ ปรับตัวไปในทิศทางที่เอื้อต่อการลงทุน โดยระหว่างที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังคงอยู่ในภาวะวิกฤติ TK จะใช้กลยุทธ์บริหารกิจการที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านดิจิทัลเทคโนโลยี ทั้งนี้ ล่าสุดมีลูกค้าใช้บริการผ่าน TK PLUS แอปพลิเคชัน เพิ่มขึ้น 3.2 เท่า และมีลูกค้าใช้บริการผ่าน Line@TK PLUS เพิ่มขึ้น 327 เท่าจากปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19

 

นางสาวปฐมา พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK เปิดเผยในกิจกรรมOpportunity Day บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุนว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา TK ได้จัดตั้ง บริษัท ทีเค โบรคเกอร์ จำกัด หรือ TK Broker มี TK เป็นผู้ถือหุ้น 99.99% เพื่อเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย โดยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการคัดเลือกบริษัทประกันที่มีผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด และนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้กับลูกค้า ตามแผนการขยายธุรกิจในประเทศของบริษัทฯ

 

“TK Broker เป็นธุรกิจใหม่ล่าสุดด้วยเงินทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท ที่ TK ได้ขยายธุรกิจไปสู่การเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัย เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่ผู้บริโภคปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการปิดความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยการซื้อประกันในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการขานรับนโยบายของภาครัฐและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการประกันภัย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ เรากำลังเร่งพัฒนาบุคลากร พร้อมคัดเลือกผลิตภัณฑ์ประกันต่าง ๆ ออกมานำเสนอให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้นี้” นางสาวปฐมา กล่าว

 

นายประพล พรประภา กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK กล่าวเสริมว่า ด้านการขยายธุรกิจในต่างประเทศตามแผนการเพิ่มสัดส่วนลูกหนี้ในตลาดต่างประเทศและลูกหนี้ในประเทศเป็น 50:50 ภายในปี 2565 นั้น เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันยังไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ดังนั้น TK จึงใช้เลือกถือเงินสดและเงินฝากในธนาคารซึ่งปัจจุบันมีรวม 2,335 ล้านบาท และรอจังหวะเข้าลงทุนขยายกิจการทันทีที่ทุกอย่างคลี่คลายและเอื้อต่อการลงทุน โดยเฉพาะการเข้าปิดดีลการซื้อกิจการ Myanmar Finance International Limited หรือ MFIL ผู้ให้บริการสินเชื่อในเมียนมา รวมถึงการขยายสาขาเพิ่มเติมของธุรกิจในกัมพูชา และ สปป.ลาว รวมทั้งขยายธุรกิจในประเทศ

 

“สำหรับตลาดต่างประเทศ ใน สปป. ลาว เรากำลังทยอยเปิดสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา ในปากเซ เชียงขวาง และอุดมชัย ส่งผลให้เราจะมีจำนวนสาขาใน สปป. ลาว เพิ่มจาก 3 สาขา เป็น 5 - 6 สาขา ภายใน Q1/2565 นี้ สำหรับในกัมพูชา ปัจจุบันมี 12 สาขา” นายประพล อธิบาย

 

ระหว่างที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังคงมีจำนวนของผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และภาครัฐยังจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และกำลังซื้อ TK จึงเลือกบริหารกิจการด้วยกลยุทธ์ที่เน้นไปที่ประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายโดยรวมภายในองค์กร รวมทั้งการบริหารต้นทุนทางการเงิน และการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ทั้งภายในองค์กรรวมทั้งในการให้บริการลูกค้า โดยหลังจากที่ได้พัฒนา TK PLUS แอปพลิเคชัน ตั้งแต่ปี 2561 และ Line@TK PLUS เมื่อปี 2562 ล่าสุด ณ เดือนกรกฎาคม 2564 มีลูกค้าใช้บริการผ่าน TK PLUS แอปพลิเคชัน เพิ่มขึ้น 3.2 เท่า และมีลูกค้าใช้บริการผ่าน Line@TK PLUS เพิ่มขึ้น 327 เท่าจากปี 2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคปรับตัวหันมาทำธุรกรรมผ่านทางดิจิทัลเทคโนโลยีมากขึ้นแบบก้าวกระโดด และเพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ของพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้ TK จะเดินหน้าเร่งนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาบริการตลอดเส้นทางการใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey) นายประพล กล่าวทิ้งท้าย