• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home TVI โชว์ Q1 กำไร-เบี้ยรับโตแกร่ง ปี'67 ขยับสู่หมื่นล้าน
TVI โชว์ Q1 กำไร-เบี้ยรับโตแกร่ง ปี'67 ขยับสู่หมื่นล้าน

TVI โชว์ Q1 กำไร-เบี้ยรับโตแกร่ง ปี'67 ขยับสู่หมื่นล้าน

“ประกันภัยไทยวิวัฒน์” โชว์ฟอร์มผลงานไตรมาส 1/2566 แกร่ง กำไรสุทธิ 106 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับรวมเติบโตแตะ 1,739 ล้านบาท ตามการเติบโตทั้งกลุ่ม Motor และ Non-Motor ส่งซิกเดินหน้าอัพนวัตกรรม ลุย “ประกันเปิดปิด” ขยายฐานตลาดประกันภัยรถยนต์ปี 2-EV ผลักดันเบี้ยรับรวมเติบโตก้าวกระโดดแตะ 10,000 ล้านบาทภายในปี 2567

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) หรือ “TVI” ผู้นำด้านนวัตกรรมประกันภัย (InsurTech) เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1 ปี 2566 ว่า บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 106 ล้านบาท โดยเบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้สุทธิเติบโตเกือบ 19% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนแตะ 1,721 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของทั้งเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (Motor) และประกันภัยกลุ่ม Non-Motor

โดยเบี้ยประกันภัยรถยนต์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,490 ล้านบาท จากกระแสประกันภัยรถยนต์แบบเปิดปิดที่ยังคงได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี รวมทั้งบริษัทฯได้ขยายฐานออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ขณะที่เบี้ยประกันภัยกลุ่ม Non-Motor เติบโตเกือบ 30% แตะ 249 ล้านบาท ตามการเพิ่มขึ้นของประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident Insurance : PA), ประกันภัยสุขภาพ (Health Insurance), ประกันอุบัติเหตุการเดินทาง (Travel Insurance), การประกันภัยสัตว์เลี้ยง (Pet Insurance) และการประกันภัยทรัพย์สิน (Property insurance) ซึ่งเป็นผลจากการเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมอันนำมาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว ภายใต้สโลแกน “คิดเผื่อเพื่อทุกชีวิต”

สำหรับค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,376 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 212 ล้านบาท ตามการเติบโตของเบี้ยประกันภัย อย่างไรก็ตาม จากการมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานบริการ รวมถึงการเพิ่มความแม่นยำระบบคัดกรองความเสี่ยง ด้วยการนำ Big Data และเทคโนโลยีมาเข้าปรับใช้ ส่งผลให้บริษัทฯสามารถควบคุมอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ให้อยู่ในระดับที่ยังเหมาะสมได้ โดยอยู่ที่ราว 59%

นายจีรพันธ์ บอกเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการเติบโตช่วงไตรมาส 2 ต่อเนื่องครึ่งหลังของปี 2566 ยังคงสดใส ตามภาพรวมอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย ที่ได้รับอานิสงค์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งบริษัทฯเตรียมขยายตลาดรุกประกันภัยรถยนต์ปี 2 และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ล่าสุดได้เปิดรับทุกค่ายแล้ว โดยจะลุยทำตลาดประกันภัยรถยนต์แบบเปิดปิดอย่างเต็มรูปแบบ จากปัจจุบันมียอดกรมธรรม์รวมทั้งหมดแล้วกว่า 250,000 กรมธรรม์ รวมไปถึงการพิจารณาปรับเบี้ยให้สอดคล้องความต้องการ และสถานการณ์ความเป็นจริงในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีความเฉพาะตัว สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการส่วนบุคคลได้อย่างลงตัว โดยรถยนต์ไฟฟ้า บริษัทฯจะออกผลิตภัณฑ์ทั้งประกันภัยตัวรถยนต์ และประกันภัยแท่นชาร์จ เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุม

นอกจากนี้ บริษัทฯยังเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการประกันภัยของไทย ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างการทดสอบระบบเคลมประกันรถยนต์ด้วย AI ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส แม่นยำ และลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากคน (Human Error) ได้ ตั้งเป้าผลักดันเบี้ยรับรวมเติบโตก้าวกระโดดแตะ 10,000 ภายในปี 2567 จากปี 2566 ที่คาดว่าจะทำได้ทะลุ 8,000 ล้านบาท