• SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แม้ยังมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนและท่องเที่ยว คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ เนื่องจาก 1) เป็นการรักษาสถานะความเป็นกลางของนโยบายการเงิน (Neutral stance) จากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว (Neutral rate) ลดต่ำลงจากเดิม และ 2) มติ กนง. ล่าสุดยังออกมาไม่เป็นเอกฉันท์ต่อเนื่อง *** มองกรอบเงินบาทอยู่ที่ 35.80 - 36.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสิ้นปีนี้ เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าเล็กน้อยในกรอบ 34.00-35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
Home UAC ทุ่มงบ 200 ล.ลงทุนโรงงานผลิต RDF3 ในอินโดฯ
UAC ทุ่มงบ 200 ล.ลงทุนโรงงานผลิต RDF3 ในอินโดฯ

UAC ทุ่มงบ 200 ล.ลงทุนโรงงานผลิต RDF3 ในอินโดฯ

กรุงเทพฯ - บมจ.ยูเอซี โกลบอล (“UAC”) เสิร์ฟข่าวดี บอร์ดไฟเขียวลงทุนโครงการโรงงานผลิต RDF3 ในประเทศอินโดนีเซีย มูลค่าโครงการประมาณ 200 ล้านบาท ผ่านบริษัทร่วมทุน “PT CAHAYA YASA CIPTA (CYC)” เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าที่ต้องการใช้เชื้อเพลิง RDF3 สอดรับนโยบายการลงทุนด้านการต่อยอดทางธุรกิจในการดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)ระยะยาว

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ “UAC” เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณกรรมการบริษัทฯอนุมัติการลงทุนโครงการโรงงานผลิต RDF3 ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อจำหน่ายเชื้อเพลิง RDF3 คิดเป็นมูลค่าโครงการประมาณ 200 ล้านบาท  

 สำหรับการลงทุนในโครงการดังกล่าว บริษัทฯได้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ “PT CAHAYA YASA CIPTA” หรือ (CYC) ในประเทศอินโดนีเซีย โดยUAC ถือหุ้นในสัดส่วน 70% และบริษัท PT Terang Hidup Energi (THE) ถือหุ้น 30%

โครงการโรงงานผลิต RDF3 ตั้งอยู่บนพื้นที่สัมปทานบ่อขยะที่เมืองสุขภูมิ ประเทศอินโดนีเซีย มีปริมาณขยะเก่าประมาณ 500,000 ตัน และมีขยะใหม่ประมาณ 200 ตัน/วัน และจะเพิ่มขึ้นถึง 450 – 500 ตัน/วัน จากขยะในพื้นที่เมืองใกล้เคียง ซึ่งเพียงพอที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต RDF3 เพื่อส่งมอบให้กับโรงปูนซีเมนต์ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ในระยะยาวจนสิ้นสุดสัญญาผลิตและจำหน่าย RDF3

นอกจากนี้ การลงทุนโครงการโรงงานผลิต RDF3 ที่เมืองสุขภูมิ ประเทศอินโดนีเซียในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดทางธุรกิจในการดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการ (ESG) ซึ่งเป็นหลักการในการวางรากฐานความยั่งยืนและเสริมสร้างความมั่นคงและผลตอบแทนให้กับบริษัทได้ในระยะยาว