• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดในการประชุม FOMC วันที่ 6-7 พ.ย. นี้ คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ลงมาอยู่ที่ระดับ 4.50-4.75% สอดคล้องกับที่ตลาดคาด และยังมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ต่อเนื่องในเดือนธ.ค. 2567 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.25-4.50% ณ สิ้นปี 2567 เนื่องจาก เงินเฟ้อที่ปรับลดลงเข้าใกล้เป้าหมายของเฟด เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอลงสู่ “Soft Landing” และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีส่วนกำหนดทิศทางดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า
Home UAC ยื่นขายไฟฟ้าโครงการ FiT รอบ 2 จำนวน 15 MW จ่อ COD โรงงานผลิต RDF3 ที่อินโดฯ
UAC ยื่นขายไฟฟ้าโครงการ FiT รอบ 2 จำนวน 15 MW จ่อ COD โรงงานผลิต RDF3 ที่อินโดฯ

UAC ยื่นขายไฟฟ้าโครงการ FiT รอบ 2 จำนวน 15 MW จ่อ COD โรงงานผลิต RDF3 ที่อินโดฯ

กรุงเทพฯ - บมจ.ยูเอซี โกลบอล (UAC) เดินเกมรุกโค้งสุดท้ายปี ยื่นเสนอขายไฟฟ้าโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 จำนวน 6 โครงการ กำลังผลิตไฟฟ้ารวม 15 MW ลุ้นผลกลางเดือน ธ.ค.นี้ ด้าน CEO“ชัชพล ประสพโชค” ประกาศ COD โรงงานผลิต RDF3 ทีั่อินโดนีเซีย ภายในQ4/2567 นี้ มั่นใจหนุนผลงานเติบโตอย่างยั่งยืน


นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ “UAC” เปิดเผยว่า บริษัทฯ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ภายใต้ความมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานสะอาดปิโตรเคมีและสาธารณูปโภค ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด บริษัท ยูเอซี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (UACE) บริษัทย่อย ได้เข้ายื่นประมูลในโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 จำนวน 6 โครงการ โดยเป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินทั้งหมด ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 โครงการ จังหวัดลำปาง จำนวน 2 โครงการ และจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 3 โครงการ โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 15 MW และคาดว่า กกพ.จะประกาศผลการคัดเลือกได้ประมาณกลางเดือนธันวาคมนี้

ส่วนโรงงานผลิต RDF3 เมือง Sukabumi ประเทศอินโดนีเซีย กำลังการผลิต 120 ตัน/วัน อยู่ระหว่างการก่อสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างติดตั้งเครื่องจักร ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 พร้อมทั้งสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ภายในเดือนธันวาคมนี้

ขณะที่แหล่งผลิตปิโตรเลียม L10/43, L11/43 ในพื้นที่อรุโณทัยและบูรพา จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันมีการผลิตปิโตรเลียมจากสองพื้นที่อยู่ในระดับ 200-250 BPD และได้มีการวางแผนจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้ได้มากกว่า 350 BPD โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในไตรมาส 4/2567