• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ก.ล.ต. ประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ
ก.ล.ต. ประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ

ก.ล.ต. ประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ

เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

 

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายของพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 (พ.ร.ก. นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ) เพื่อทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่ไม่จำเป็นและให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน รวมถึงยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจ

 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของ พ.ร.ก. นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะนำความเห็นที่ได้รับมาประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย และประกอบการทบทวนหลักเกณฑ์ที่ไม่จำเป็นให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งส่งเสริมให้ธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) เป็นกระบวนการทางการเงินที่สามารถใช้แก้ไขอุปสรรคการขาดแคลนเงินทุนของธุรกิจต่าง ๆ ที่มีความมั่นคงสูง และเป็นกลไกที่ช่วยพัฒนาตลาดทุนของประเทศต่อไป

 

ทั้งนี้ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายของ พ.ร.ก. นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ) ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายอย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ หรือทุกรอบระยะเวลาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเมื่อมีกรณีอื่นตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ

 

ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=718 ผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: debt@sec.or.th จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564