• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home กยท.ขยายเวลาชำระหนี้ 6 เดือนช่วยเหลือเกษตรกร เริ่ม 1 มี.ค. นี้
กยท.ขยายเวลาชำระหนี้ 6 เดือนช่วยเหลือเกษตรกร เริ่ม 1 มี.ค. นี้

กยท.ขยายเวลาชำระหนี้ 6 เดือนช่วยเหลือเกษตรกร เริ่ม 1 มี.ค. นี้

กยท. ขยายเวลาชำระหนี้ 6 เดือนช่วยเหลือเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เริ่ม 1 มี.ค. นี้

 

กยท. ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 49(3) และ 49(5) เพิ่ม 6 เดือน แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงผู้ประกอบกิจการยางที่กู้เงินกับ กยท. รวมกว่า 7,000 ราย เริ่มตั้งแต่1 มี.ค. – 31 ส.ค. นี้ มุ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเงินในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

 

 

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร การดำเนินธุรกิจและประกอบอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร ไปจนถึงผู้ประกอบกิจการแปรรูปยาง ดังนั้น การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงมีแนวทางช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่ผู้ที่กู้ยืมเงินกับ กยท. ผ่านกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(3)สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุน ส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง จำนวน 1,468 ราย และผู้ที่กู้ยืมเงินผ่านกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(5) เงินกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 5,585 ราย โดยขยายเวลาของสัญญาเงินกู้ยืม หรือผ่อนผันการชำระหนี้ในแต่ละงวดตามที่กำหนดไว้ ให้สามารถผ่อนผันการชำระหนี้ได้เป็นเวลา 6 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ไปจนถึง 31 สิงหาคม 2564 โดยงดการคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ในการขยายระยะเวลาสัญญาเงินกู้ในแต่ละงวด  

 

นายสุขทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้กู้ที่มีความประสงค์ขยายระยะเวลาของสัญญาเงินกู้ยืม จะต้องยื่นคำร้องและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา ที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดหรือสาขาที่ผู้กู้ได้ยื่นกู้ยืมไว้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกันและผู้จำนองด้วย