• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์ฯเบิกจ่ายค่ายาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มะเร็งไทรอยด์
กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์ฯเบิกจ่ายค่ายาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มะเร็งไทรอยด์

กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์ฯเบิกจ่ายค่ายาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มะเร็งไทรอยด์

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางดำเนินงานภายใต้คณะทำงานพิจารณาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาระบบเบิกจ่ายค่ายากลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม จำเป็น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างสมเหตุผล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ปรับปรุงรายการยาและเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายารักษาโรคมะเร็งในระบบ OCPA ดังนี้

(1) ปรับปรุงเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย

(2) เพิ่มรายการยา Lenvatinib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma และโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าว

 



สถานพยาบาลจะต้องดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทำการรักษา และผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอล ที่กำหนดในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยา ตามแนวทาง ที่หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมบัญชีกลางกำหนด และให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น รวมทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งชี้ที่กำหนด จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้

2. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib สำหรับการรักษาทุกข้อบ่งชี้ โดยให้เบิกจ่ายค่ายาได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด ดังนี้

* Lenvatinib ขนาด 4 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม อัตรา 835 บาทต่อแคปซูล และ 1,552 บาทต่อแคปซูล ตามลำดับ โดยในกรณีที่ใช้ยา 20 มิลลิกรัมต่อวัน ให้เบิกได้เฉพาะความแรง 10 มิลลิกรัมเท่านั้น ทั้งนี้ หลังจากผู้ป่วยใช้ยาครบ 120 วัน และยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อ บริษัทผู้จำหน่ายยาจะสนับสนุนยาให้ผู้ป่วยรายนั้นจนกว่าแพทย์จะพิจารณาให้หยุดยาหรือผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา

* Sorafenib ขนาด 200 มิลลิกรัม อัตรา 319 บาทต่อเม็ด ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยรายเดิมที่ลงทะเบียนขออนุมัติการเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าวในระบบ OCPA ก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัทผู้จำหน่ายยาจะยังคงสนับสนุนยาหลังจากผู้ป่วยใช้ยาครบ 4 เดือน และยังตอบสนองต่อการรักษาดี

“โดยหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02 127 7000 ต่อ 6850 หรือ 6851 ในวัน เวลาราชการ” หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/รายการยาที่กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว