• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'กรุงศรี คอนซูมเมอร์'ปี 64 เน้นผสานแกร่งพันธมิตร ดันเป้าใช้จ่ายผ่านบัตรโต 9%
'กรุงศรี คอนซูมเมอร์'ปี 64 เน้นผสานแกร่งพันธมิตร ดันเป้าใช้จ่ายผ่านบัตรโต 9%

'กรุงศรี คอนซูมเมอร์'ปี 64 เน้นผสานแกร่งพันธมิตร ดันเป้าใช้จ่ายผ่านบัตรโต 9%

กรุงเทพฯ - 16 กุมภาพันธ์ 2564 : กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผยผลประกอบการปี 2563 ยังคงเติบโตเป็นที่น่าพอใจ แม้ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและความไม่แน่นอนจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 280,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 79,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท อันเป็นผลจากการใช้ระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และบริหารค่าใช้จ่ายรวมถึงการรักษาคุณภาพสินเชื่ออย่างรัดกุม เตรียมเดินหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ประกาศกลยุทธ์ ชูดิจิทัล นวัตกรรม และศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน พร้อมจับมือพันธมิตรผสานความแข็งแกร่ง สร้างความเติบโต และพัฒนาศักยภาพบุคลากร ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร 305,000 ล้านบาท เติบโต 9% ภายในปี 2564

 

 

นางสาวณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล อันประกอบไปด้วย บัตรเครดิตกรุงศรี, บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า กล่าวว่า “ในปี 2563 ที่ผ่านมา แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ผันผวน และความไม่แน่นอนในตลาด จากสถานการณ์โควิด-19 แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ก็ยังมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 280,000 ล้านบาท (-11% เทียบกับปี 2562) ยอดสินเชื่อใหม่ 79,000 ล้านบาท (-21%) ยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท (-4%) และจำนวนบัญชีลูกค้าใหม่ 488,000 ราย (-51%) ผลประกอบการในภาพรวม แม้จะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ก็ได้รับผลกระทบรุนแรงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อันเป็นผลจากการใช้ระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรักษาคุณภาพสินเชื่ออย่างรัดกุม”

 

 

“สำหรับในปี 2564 คาดว่าสภาวะตลาดโดยรวมยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ ภาวะการว่างงาน และกำลังซื้อ รวมถึงอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ระดับ 1.2% สำหรับบัตรเครดิต และ 3.4% สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระ ซึ่งนับว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในธุรกิจ อย่างไรก็ดี ยังมีโอกาสใหม่ ๆ จากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นตัวเร่งให้สังคมไทยก้าวสู่ยุคสังคมไร้เงินสดแบบก้าวกระโดด กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงเตรียมปรับแผนธุรกิจ โดยเน้นการบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างรัดกุม พร้อมกับการดูแลช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้วาง กลยุทธ์หลัก 4 ประการเพื่อสร้างความเติบโตในระยะยาว”

 

 

“สำหรับกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้แก่ 1. การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น การใช้ระบบดิจิทัล เวิร์คโฟลว์ และการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการทำงานที่มีการทำซ้ำ (Robotic Process Automation-RPA), บริการส่งใบเรียกเก็บเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-billing), บริการสมัครบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อผ่านทางแอปพลิเคชั่น ยูชูส (Digital Lending), การนำ AI และ Chatbot มาใช้พัฒนาการบริการ, การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ บนแอปพลิเคชั่น ยูชูส เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ รวมทั้งเป็นช่องทางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่, 2.การนำศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น, 3. การผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี และพันธมิตรชั้นนำทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด ขยายฐานลูกค้า และแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ โดยเฉพาะในเซกเมนต์ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เช่น บริการส่งอาหาร, ช้อปปิ้งออนไลน์, และประกันภัย เป็นต้น และ 4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ก้าวทันโลกธุรกิจยุคใหม่ โดยมีเป้าหมายในระยะยาว ที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และการบริการให้ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น” นางสาวณญาณี กล่าวสรุป

 

 

ทั้งนี้ ในปี 2564 กรุงศรี คอนซูมเมอร์ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร 305,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 88,000 ล้านบาท และจำนวนลูกค้าใหม่ 583,000 ราย