• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home กรุงศรี เตรียมพร้อมทดสอบใช้สกุลเงินดิจิทัล Retail CBDC
กรุงศรี เตรียมพร้อมทดสอบใช้สกุลเงินดิจิทัล Retail CBDC

กรุงศรี เตรียมพร้อมทดสอบใช้สกุลเงินดิจิทัล Retail CBDC

กรุงเทพฯ (22 กันยายน 2565) – กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินแห่งแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้ทดสอบนำร่องการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางภาคประชาชน (Retail CBDC หรือ rCBDC) ซึ่ง กรุงศรีเป็นหนึ่งในคณะทำงานที่ได้ทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบโครงสร้างการเงินดิจิทัลขั้นพื้นฐานให้แก่ประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่โลกการเงินแห่งอนาคต

 

นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและบริการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างพิถีพิถันสามารถใช้งานได้จริง และยังต้องตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าธนาคารที่หลากหลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกได้เคลื่อนตัวสู่สังคมไร้เงินสดและเศรษฐกิจดิจิทัล การเริ่มต้นด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานการเงินดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและเหมาะกับบริบทของประเทศไทยนับเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการเตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนเกี่ยวกับสกุลเงิน rCBDC ที่จะมาช่วยให้การดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายและใช้จ่ายอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาต่อยอดด้านสกุลเงินดิจิทัล CBDC สำหรับใช้งานจริงต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับการให้บริการแบบ beyond banking ที่กรุงศรีมุ่งเน้น”

 

การร่วมทดสอบการใช้งาน Retail CBDC กับธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการศึกษาและทดลองใช้งานในส่วนระบบพื้นฐาน (Foundation track) ในกลุ่มผู้ทดลองใช้งานจำนวน 10,000 ราย ที่สามารถควบคุมและติดตามการใช้งานในวงจำกัด โดยจะเริ่มทดสอบตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนถึงกลางปี 2566

 

ในช่วงทดสอบการใช้งานในส่วนระบบขั้นพื้นฐาน (Foundation track) กรุงศรีได้มีการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันขึ้นโดยเฉพาะเพื่อรองรับกระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับ CBDC และมีแผนเพื่อหาโอกาสการพัฒนาฟีเจอร์ที่หลากหลาย เช่น ผู้ใช้งานสามารถเปิดกระเป๋าเงินดิจิทัลได้พร้อมกันหลายกระเป๋า ทั้งยังสามารถออกแบบ “Personalized CBDC wallet” เพื่อใช้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล หรือ ออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถระบุเพื่อเจาะจงร้านค้าที่จะใช้งาน เช่น กระเป๋าเงินไปโรงเรียน สำหรับใช้จ่ายในโรงเรียน เป็นต้น โดยกรุงศรีจะเปิดให้ผู้ใช้งานทดสอบการใช้ชำระเงินในชีวิตประจำวัน กิน ช้อป เดินทาง เพื่อนำผลจากการทดสอบไปประมวลผลร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป

 

“สำหรับกรุงศรี การได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมทดสอบการใช้งาน Retail CBDC สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางภาคประชาชนนั้น เป็นการตอกย้ำถึงสิ่งที่ธนาคารตั้งใจในการนำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและนวัตกรรมมาสนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานการเงินดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพเพียงพอเพื่อให้คนไทยทั้งระดับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการทุกระดับตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่จนถึงขนาดย่อม ก้าวสู่ภูมิทัศน์การเงินแห่งโลกยุคใหม่ได้เต็มศักยภาพ ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาและเริ่มทดสอบการใช้งานสกุลเงิน CBDC อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ จีน ยูโรโซน สวีเดน กับการใช้งานสกุลเงิน rCBDC และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ หรือแคนาดา กับการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลแบบ Wholesale CBDC เป็นต้น” นายสยาม กล่าวเสริม

 

“กรุงศรี เป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีแบบบูรณาการทั้งส่วนดิจิทัลและไอทีแบบคู่ขนาน โดยคำนึงถึงความต้องการใช้งานของลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Centricity) ส่งผลให้เราพัฒนาหรือออกผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้ชีวิตลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้น ช่วยลดภาระที่ไม่ควรเกิดขึ้นต่าง ๆ ทั้งค่าใช้จ่าย เวลา และความเสี่ยงจากขั้นตอนการทำธุรกรรมแบบทั่วไป เราเชื่อว่าเมื่อเราเอาใจใส่และเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เราจะสามารถนำมาตีโจทย์เพื่อมอบสิ่งที่เหมาะสมกับลูกค้าได้อย่างแท้จริง” นายสยาม กล่าวปิดท้าย