• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'กรุงไทย'กำไรปี 64 รวม 21,588 ล.ฟิทช์เพิ่มเครดิตเป็น AAA (tha)
'กรุงไทย'กำไรปี 64 รวม 21,588 ล.ฟิทช์เพิ่มเครดิตเป็น AAA (tha)

'กรุงไทย'กำไรปี 64 รวม 21,588 ล.ฟิทช์เพิ่มเครดิตเป็น AAA (tha)

“กรุงไทย” ประกาศผลดำเนินงานปี 2564 มีกำไรสุทธิ 21,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 4,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินเชื่อที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง การบริหารคุณภาพสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มระดับของ Coverage ratio ให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 168.8 ขณะที่การตั้งสำรองลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังเป็นการตั้งสำรองในระดับสูง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม เป็นกลไกหลักในการสนับสนุนภาครัฐเยียวยาผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ Fitch Ratings ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น AAA (tha)

 

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ปี2564 ภาวะเศรษฐกิจเผชิญความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารจึงให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง โดยบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดและเพิ่มระดับของ Coverage ratio ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนในอนาคต พร้อมดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด ครอบคลุมลูกค้ารายย่อย และลูกค้าธุรกิจ ทั้งมาตรการระยะเร่งด่วน มาตรการเฉพาะกลุ่ม และมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน รวม 7 มาตรการ เพื่อให้สามารถประคองตัวและกลับมาเติบโตได้ในระยะข้างหน้า พร้อมเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านโครงการต่างๆ

 

 

นอกจากนี้ ธนาคารยังเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนมาตรการของรัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้งโครงการเราชนะ ม.33 เรารักกัน คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน และยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยธนาคารเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานการเงิน เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของลูกค้าทุกกลุ่มให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 Fitch Ratings ได้ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร เพิ่มขึ้น 1 ระดับ ทั้งอันดับความน่าเชื่อสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว เป็น BBB+ และอันดับความน่าเชื่อถือภายในประเทศระยะยาว เป็น AAA(tha) ซึ่งเป็นระดับความน่าเชื่อถือในระดับสูง โดยเป็นธนาคารพาณิชย์เพียงแห่งเดียวที่ได้รับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือในรอบนี้ สะท้อนถึงความแข็งแกร่งและบทบาทที่ชัดเจนของธนาคารในเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงที่ประเทศเผชิญความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด- 19

 

ผลประกอบการของปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 21,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินเชื่อที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 12.6 จากสิ้นปีที่ผ่านมา เพิ่มระดับของ Coverage ratio ให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 168.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 147.3 ณ สิ้นปี 2563 เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ มีการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมี NPLs Ratio-Gross อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ลดลงจากร้อยละ 3.81 ณ สิ้นปีที่ผ่านมา โดยธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 32,524 ล้านบาท แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 27.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังเป็นการตั้งสำรองในระดับที่สูง

 

ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองและภาษีเงินได้ เท่ากับ 63,055 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษเงินให้สินเชื่อจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง หากไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองและภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการลดลงของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย โดยมี NIM เท่ากับร้อยละ 2.49 ทั้งนี้ ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 1.4 ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 45.5 เทียบเท่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ

 

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 4/2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 4,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.2 จากรายได้รวมที่ขยายตัวได้ดีทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากสินเชื่อที่เติบโตในระดับสูงโดยมุ่งเน้นสินเชื่อที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ NIM เท่ากับร้อยละ 2.47 ประกอบกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นที่ขยายตัว โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากการขาดทุนจากการด้อยค่าทรัพย์สินรอการขาย ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเท่ากับ 8,233 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.0 โดยระดับของ Coverage ratio ปรับสูงขึ้น

 

เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้จากการดำเนินงานขยายตัวร้อยละ 5.6 จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยรวมถึงรายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากการขาดทุนจากการด้อยค่าทรัพย์สินรอการขาย การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับกลยุทธ์ด้านดิจิทัลของธนาคาร รวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายตามฤดูกาลในด้านส่งเสริมการตลาดและค่าใช้จ่ายพนักงาน ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองและภาษีเงินได้ที่ลดลงร้อยละ 0.2 สอดคล้องกับมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารที่ลดลงร้อยละ 2.2 โดยได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาเพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น

 

ธนาคาร (งบเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 327,685 ล้านบาท และมีเงินกองทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 393,995 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 16.54 และร้อยละ 19.88 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงตามลำดับ