• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ครม. ยืดเวลาลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 2 เดือน งดภาษีน้ำมัน'ผลิตไฟฟ้า 6 เดือน
ครม. ยืดเวลาลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 2 เดือน งดภาษีน้ำมัน'ผลิตไฟฟ้า 6 เดือน

ครม. ยืดเวลาลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 2 เดือน งดภาษีน้ำมัน'ผลิตไฟฟ้า 6 เดือน

ครม. เห็นชอบขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก 2 เดือนและขยายเวลาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอัตราศูนย์สำหรับน้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาที่นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ออกไปอีก 6 เดือน

 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 เห็นชอบขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2565 ถึง 20 พฤศจิกายน 2565 และเห็นชอบให้ขยายเวลาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอัตราศูนย์สำหรับน้ำมันดีเซล (บี0) และน้ำมันเตาที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2565 ถึง 15 มีนาคม 2566 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงต่าง ๆ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

 

ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามที่กระทรวงการคลังมอบหมายให้กรมสรรพสามิตดำเนินมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กรมสรรพสามิตจึงได้ดำเนินมาตรการภาษีเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา อาทิ การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอัตราศูนย์สำหรับน้ำมันดีเซล (บี0) และน้ำมันเตาที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 5 บาทต่อลิตร โดยมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2565 แต่เนื่องจากสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงต่างๆ ในตลาดโลกยังคงผันผวนและปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงต่างๆ ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศ และต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นจนกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนและภาคธุรกิจ จึงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการทางภาษีไปอีกระยะหนึ่งเพื่อช่วยไม่ให้ราคาขายปลีกของน้ำมันดีเซลและค่าไฟฟ้าไม่สูงจนกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เนื่องจากน้ำมันดีเซล และไฟฟ้าเป็นต้นทุนการผลิตและการขนส่งของทุกภาคอุตสาหกรรม กรมสรรพสามิตจึงเสนอปรับลดอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5บาทและจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอัตราศูนย์สำหรับน้ำมันดีเซล (บี0) และน้ำมันเตาที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดแม้ว่าการปรับลดอัตราภาษีในครั้งนี้จะส่งผลให้กรมสรรพสามิตต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนเกือบ 20,000 ล้านบาทก็ตาม