• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home คลังดันมาตรการเร่งด่วนพักเงินต้น-ดอกเบี้ย ช่วยลูกหนี้ SMEs-รายย่อย
คลังดันมาตรการเร่งด่วนพักเงินต้น-ดอกเบี้ย ช่วยลูกหนี้ SMEs-รายย่อย

คลังดันมาตรการเร่งด่วนพักเงินต้น-ดอกเบี้ย ช่วยลูกหนี้ SMEs-รายย่อย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ติดตามผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐอย่างต่อเนื่องและได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันมาตรการเพื่อลดภาระหนี้ของลูกหนี้ในช่วงที่มีการระบาดระลอกใหม่ โดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ผู้ประกอบการ SMEs และลูกหนี้รายย่อย ดังนี้

 

1. กระทรวงการคลัง และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ โดยในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามนโยบายกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงการขยายระยะเวลาชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดมีความรุนแรงมากขึ้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงได้ยกระดับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดยออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้SMEs และรายย่อยเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั่วประเทศ ซึ่งได้แก่ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัดและนอกพื้นที่ควบคุมแต่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐเริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 หรือเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แล้วแต่กรณีทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้

 

2. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้SMEs และรายย่อยเป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งได้แก่ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัดและนอกพื้นที่ควบคุมที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของภาครัฐเริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไปสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม ซึ่งได้แก่ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้

 

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลาที่สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังมีความไม่แน่นอนสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ทันทีเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้ โดยลูกหนี้ที่สนใจสามารถติดต่อสถาบันการเงินผ่านช่องทางที่มีระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดโอกาสการระบาดของ COVID-19 เช่น แอพพลิเคชั่นบทโทรศัพท์มือถือ ศูนย์บริการลูกค้าของสถาบันการเงิน เป็นต้น ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

 

กระทรวงการคลังจะติดตามผลการดำเนินงานและประเมินประสิทธิภาพของมาตรการอย่างใกล้ชิด และพร้อมออกมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกหนี้ เสถียรภาพระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ