• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'คลัง'ย้ำแหล่งเงิน-เครื่องมือการกู้เงินเพียงพอเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจ
'คลัง'ย้ำแหล่งเงิน-เครื่องมือการกู้เงินเพียงพอเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจ

'คลัง'ย้ำแหล่งเงิน-เครื่องมือการกู้เงินเพียงพอเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจ

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ระบุว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (พ.ร.ก. COVID-19) กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ โดยจะต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรือออกตราสารหนี้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2564 ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และสาธารณสุข การช่วยเหลือเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดย ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการจัดหาเงินกู้ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วจำนวน 703,841 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ

 

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะวางแผนและดำเนินการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. COVID-19 อย่างรอบคอบโดยใช้กลยุทธ์การระดมทุนที่เป็นการกู้เงินในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้ได้วงเงินกู้ที่ครบถ้วนภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดการแย่งสภาพคล่องจากภาคเอกชน และส่งเสริมการพัฒนาตลาดราสารหนี้ในประเทศ โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่ผสมผสานทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาทิ ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) พันธบัตรรัฐบาล (Loan Bond) และพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond) อีกทั้ง ได้คำนึงถึงแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้จากระยะสั้นเป็นระยะปานกลางและระยะยาว โดยใช้พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ความต้องการของนักลงทุน และสภาวะตลาดการเงินในประเทศ

 

อย่างไรก็ดี หากในอนาคตรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะวางแผนการกู้เงินอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงต้นทุน สภาวะตลาดการเงิน และจะพัฒนานวัตกรรมทางการเงินให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนและตลาดการเงิน โดยจะมุ่งเน้นตราสารทางการเงินที่ส่งเสริมการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนสำหรับโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่าการบริหารหนี้สาธารณะได้มีการดำเนินการ อย่างรอบคอบ ครบถ้วน และถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ