• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'คลัง'เปิดแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับ 4 รับ Mega Trends
'คลัง'เปิดแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับ 4 รับ Mega Trends

'คลัง'เปิดแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับ 4 รับ Mega Trends

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2565 – 2570) (แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้

 


แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) (แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 3) ได้สิ้นสุดลงในปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย (คณะทำงานฯ) เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ประชุมหารือ รวมทั้งได้พิจารณารับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดทำหลักการของร่างแผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 และต่อมากระทรวงการคลังได้นำเสนอร่างหลักการการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในคราวเดียวกับการรายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 3 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565

แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 มีพัฒนาการที่สานต่อจากแผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 3 โดยคำนึงถึงปัจจัยความท้าทายและทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจโลก (Mega Trends) ที่ส่งผลกระทบ ต่อตลาดทุนในหลายด้านที่สำคัญ อาทิ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมสูงวัย ภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ เป็นต้น รวมทั้งมุ่งเน้นการสร้างภูมิทัศน์ของภาคตลาดทุนไทย ในอนาคตให้ตอบสนองเป้าหมายการขับเคลื่อนใน 7 ด้าน ได้แก่ 1) ความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจและการจัดสรรเงินทุนภายในประเทศได้อย่างเหมาะสม (Domestic Fund Mobilization) 2) การเติบโตเชิงคุณภาพ (Quality Growth) และการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนในตลาดทุนประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม 3) การให้ความสำคัญกับการเข้าถึงตลาดทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจเริ่มต้น (Small and Medium-size Enterprises: SMEs/Startup) และผู้ลงทุนรายย่อยในการใช้ประโยชน์จากตลาดทุนมากขึ้น 4) ตลาดทุนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้น 
อาทิ ตำแหน่งในระดับสากล การเข้าถึงตลาดทุนของผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนเพื่อการใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้มากขึ้น เป็นต้น 5) การใช้ประโยชน์จากดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน 6) ความสอดคล้องกัน (Harmonization) ระหว่างสินทรัพย์ดั้งเดิมและสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการสอดประสานและร่วมมือกันของหน่วยงานกำกับดูแล (Cross-Discipline) และ 7) สาธารณชนมีความเชื่อมั่นต่อตลาดทุนไทย (Public Trustworthiness)

 



เพื่อให้แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 สามารถพัฒนาภาคตลาดทุนไทยได้อย่างต่อเนื่องจาก แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 3 โดยรองรับปัจจัยความท้าทายและโอกาส รวมทั้งตอบสนองเป้าหมายการขับเคลื่อนภูมิทัศน์ของ ภาคตลาดทุนไทยทั้ง 7 ด้านข้างต้น แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 จึงกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจไว้ ดังนี้

วิสัยทัศน์ : ตลาดทุน (กำลัง 4) เพื่อการพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างแข็งแรง 1) “สานต่อ” ตลาดทุนให้เป็นผู้นำระดับภูมิภาค 2) “ส่งเสริม” ทุกภาคส่วนให้เติบโตอย่างยั่งยืน 3) “สนับสนุน” ทุกภาคส่วนให้ปรับสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และ 4) “เสริมสร้าง” ความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของประชาชน พันธกิจ : ได้แก่ 1) ตลาดทุนเพื่อการแข่งขันได้ 2) ตลาดทุนเพื่อความยั่งยืน 3) ตลาดทุนดิจิทัล 
4) ตลาดทุนเพื่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน และ 5) ตลาดทุนที่ทุกฝ่ายได้ใช้ประโยชน์/เข้าถึงได้

 

 

แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาตร์ โดยแบ่งเป็น 29 แผนงาน เพื่อรองรับการบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจข้างต้น ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ตลาดทุนเพื่อการแข่งขันได้ (Competitiveness) เป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกภาคส่วนในตลาดทุนไทยและระบบเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สำคัญ เช่น การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตลาดทุนที่เข้าถึงได้ (Accessibility) เป็นตลาดทุนที่เอื้อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ประกอบด้วย 8 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สำคัญ เช่น การสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New Economy) กลุ่มธุรกิจที่เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมเพื่อให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต (New S-curve) และกลุ่มธุรกิจด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) การระดมทุนผ่าน LiVE Exchange ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startup เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ตลาดทุนดิจิทัล (Digitalization) เป็นการส่งเสริม ประยุกต์ และใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในตลาดทุน ประกอบด้วย 6 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สำคัญ เช่น โครงการ Digital Infrastructure (DIF) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางในตลาดทุน เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ตลาดทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) เป็นการมุ่งเน้นส่งเสริมความยั่งยืนของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทยและระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบด้วย 1 แผนงาน ได้แก่ มาตรการส่งเสริมและพัฒนาให้ตลาดทุนไทยเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ตลาดทุนเพื่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน (Financial well-being) เป็นการมุ่งเน้น สร้างผลลัพธ์ทางการเงินที่ดี รวมถึงการสร้างโอกาสในการลงทุน โดยมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 3 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สำคัญ เช่น การพัฒนาทักษะทางการเงินของคนไทย (Financial Literacy) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565 – 2570 การปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เป็นต้น

แผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 จะมีบทบาทในการผลักดันยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติจริงผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อันจะส่งผลให้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพและสมดุล รวมทั้งมีส่วนช่วยรักษาการเติบโตและสร้างการเติบโตรูปแบบใหม่ (New Growth) จากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมความยั่งยืนและเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่ง (Wealth) ให้แก่ผู้ร่วมตลาด และมีความยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงและภัยคุกคาม