• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ซีพีเอฟ ร่วมกับ ศูนย์ฯ FLEC ปกป้องแรงงานประมง สงขลา สู้โควิด-19
ซีพีเอฟ ร่วมกับ ศูนย์ฯ FLEC ปกป้องแรงงานประมง สงขลา สู้โควิด-19

ซีพีเอฟ ร่วมกับ ศูนย์ฯ FLEC ปกป้องแรงงานประมง สงขลา สู้โควิด-19

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา หรือ ศูนย์ FLEC ดำเนินกิจกรรมเชิงรุก ร่วมสนับสนุนภาครัฐในเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ในกลุ่มลูกเรือประมง และครอบครัวในพื้นที่จังหวัดสงขลา เร่งให้ความรู้และข้อมูล วิธีการปฏิบัติ พร้อมช่วยเหลือสิ่งของจำเป็นแรงงานต่างชาติ ฝ่าวิกฤติไปด้วยกัน

 

ล่าสุด นายอุโฉม ช่วยแท่น เป็นตัวแทนธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ นำหน้ากากอนามัย ซีพี จำนวน 1,000 ชิ้น มอบให้แก่ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา โดยมีตัวแทนจากท่าเทียบเรือประมงสงขลา ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา และตัวแทนแรงงานต่างชาติร่วมรับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ลูกเรือประมงและประชาชนในพื้นที่ ร่วมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่นี้

 

 

นางสาวนาตยา เพชรัตน์ ในฐานะผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา กล่าวว่า การสนับสนุนหน้ากากอนามัยของซีพีเอฟในครั้งนี้ เป็นการช่วยให้แรงงานต่างชาติในภาคการประมงและครอบครัวเข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันโรคอย่างทั่วถึง เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และวิธีการปฏิบัติตน แรงงานประมง และบุคคลในครอบครัว ได้ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคระบาดในจังหวัดสงขลาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ในช่วงการแพร่ระบาดโรครอบใหม่ ผู้ประกอบการเรือประมงขอความร่วมมือแรงงานต่างชาติอยู่ประจำบนเรือประมงทำส่งผลต่อความไม่สะดวกในการดำรงชีวิต ศูนย์ FLEC จึงได้นำกล่องยาสามัญประจำบ้าน อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล และของใช้จำเป็น มอบให้แก่ลูกเรือประมงต่างชาติ ให้สามารถเข้าถึงยาสามัญประจำบ้าน และมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองได้เพียงพอ ในระหว่างที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคแพร่ระบาดจากชุมชนมาสู่เรือประมง

 

 

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ยังได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธเผยแพร่แนวทางการป้องกันติดตามจุดต่างๆ รวมทั้งชุมชน บ้านพักของลูกเรือ เพื่อให้ลูกเรือประมงและแรงงานต่างชาติได้รับทราบถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน การปฏิบัติตนตามมาตรการของจังหวัด และข้อมูลในการติดต่อขอความช่วยเหลือด้านต่างๆ รวมทั้ง สถานพยาบาลของภาครัฐ ช่วยให้แรงงานต่างชาติและครอบครัวใช้ชีวิตและทำงานด้วยความมั่นใจ และร่วมช่วยกันลดการแพร่ระบาดของไวรัสให้เร็วที่สุด

 

ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา จังหวัดสงขลา หรือ Fishermen's Life Enhancement Center Songkhla ก่อตั้งจากความร่วมมือของ 5 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย องค์กรสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปภัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี , ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) และ ซีพีเอฟ ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นต้นแบบการบูรณาการทำงานเพื่อช่วยจัดการและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ การสร้างเครือข่ายป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายรูปแบบต่างๆ ใน จังหวัดสงขลา ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมงและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยดำเนินโครงการต่างๆ ทั้ง การรณรงค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ คุ้มครอง ป้องกัน แรงงานและผู้ที่เสี่ยงต่อการปฏิบัติอย่างไม่ถูกกฎหมาย การขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ลูกหลานของแรงงาน เป็นต้น